กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานลดจำนวนลูกจ้าง สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้อย่างเป็นธรรมจริงหรือ ?

21 August 2023

ลดจำนวนลูกจ้าง สามารถเลิกจ้างลูกจ้างได้อย่างเป็นธรรมจริงหรือ ?

นายจ้างประสบภาวะขาดทุนมาเป็นระยะเวลานาน เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนลง นายจ้างเองก็อาจจำต้องปรับตัวเองให้อยู่รอดต่อไปให้ได้ ซึ่งมาตรการปรับโครงสร้างกิจก็เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายประจำของนายจ้าง ทำให้กิจการของนายจ้างสามารถดำเนินต่อไปได้ มาตรการการเลิกจ้างจึงต้องถูกหยิบมาใช้กับลูกจ้าง

การที่นายจ้างมุ่งเน้นลดต้นทุนค่าแรงให้ต่ำลง มิใช่ต้องการลดจำนวนลูกจ้าง ถือเป็นอำนาจบริหารจัดการอย่างหนึ่ง การเลิกจ้างจึงมีเหตุผลจำเป็นเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม ขอเพียงแต่หากนายจ้างได้จ่ายค่าชดเชย ค่าพักร้อนที่ไม่ได้ใช้ (ถ้ามี) หรือสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 118 กำหนดว่า “ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้าง ดังต่อไปนี้ “ค่าชดเชย” หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2226 – 2304/2561
นายจ้างประสบภาวะขาดทุนมาตลอด จึงได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อสหภาพแรงงานเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนการผลิตลง ทั้งก่อนเลิกจ้างได้จัดทำโครงการ สมัครใจลาออก และโครงการเกษียณก่อนกำหนด แต่มีลูกจ้างเข้าร่วมโครงการไม่เพียงพอ จึงจำเป็นต้องเลิกจ้างประจำ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาต้นทุนค่าแรงสูงได้ตรงจุดกว่าการเลิกจ้างลูกจ้างรายปี แม้ภายหลังเลิกจ้างจะรับลูกจ้างประจำที่ถูกเลิกจ้างกลับเข้าทำงานตำแหน่งเดิมแต่เปลี่ยนสัญญาใหม่เป็นรายปีแทนก็ตาม ก็เป็นการยืนยันให้เห็นว่าการที่จำเลยมุ่งเน้นลดต้นทุนค่าแรงให้ต่ำลง มิใช่ต้องการลดจำนวนลูกจ้าง ถือเป็นอำนาจบริหารจัดการอย่างหนึ่ง การเลิกจ้างจึงมีเหตุผลจำเป็นเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

การปรับโครงสร้างองค์กรของนายจ้าง โดยลดจำนวนลูกจ้างลงนั้นจะต้องมาจากเหตุขาดทุนและจะต้องถึงขนาดที่หากไม่ลดจำนวนลูกจ้าง กิจการของนายจ้างจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ และการปรับลดจำนวนลูกจ้างนั้นจะต้องเป็นผลโดยตรงที่ช่วยให้กิจการของนายจ้างอยู่รอดหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้ แบบนี้ไม่ถือว่าเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

แต่หากเป็นการขาดทุนกำไร อันนี้ไม่เรียกขาดทุนนะจ๊ะนายจ้าง