กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานทำสัญญาให้ลูกจ้างเซ็นว่า… เมื่อเกษียณ จะไม่ขอรับค่าชดเชย สัญญาดังกล่าว…บังคับใช้ไม่ได้จริง!!

15 August 2023

อ่านฎีกานี้เข้าไปมีคำถามเดียวผุดขึ้นมาในใจคือ “ใครแนะนำให้เขาทำอ่ะ”

นายจ้างหลายคนยังเข้าใจผิดอยู่นะคะว่า การที่ให้ลูกจ้างเซ็นอะไรไปแล้ว ลูกจ้างก็จะต้องผูกพันตามที่เซ็น  ซึ่ง “ไม่ใช่ค่ะ” ลูกจ้างบางคนยอมเซ็นทั้งๆที่รู้ว่ามันไม่ถูกต้อง บางคนเพราะไม่อยากหางานใหม่ ยังมีความจำเป็นและยอมๆไปก่อน เซ็นไป

แต่สำหรับลูกจ้างที่มีความรู้ความเข้าใจและหาข้อมูลด้านกฎหมายแรงงานเป็นอย่างดี เขาเซ็นไปค่ะ เพราะเขารู้ว่าบังคับใช้ไม่ได้จริงและเรื่องเหล่านี้มีอายุความในการฟ้องนั่นหมายความว่าต่อให้คุณเลิกจ้างเขาไปแล้วเขาก็ยังฟ้องได้อยู่

ส่วนลูกจ้างมาประเภทที่ไม่หาข้อมูลอะไรเลย เน้นเม้นลบ ไม่เน้นเรียนรู้ อันนี้ข้ามนะ ไม่กล่าวถึง เหนื่อยใจ

อ่ะเข้าข้อกฎหมายบ้าง… มันยังมีอยู ตลาดบางบริษัทที่เขียนอะไรมาก็ช่างให้มันผิดกฎหมายไว้ก่อนและให้ลูกจ้างเซ็นในกรณีนี้ผลทางกฎหมายคืออะไรมาดูกัน

ในกรณีที่จำเลยมีความจำเป็นหรือเพื่อความเหมาะสมโจทก์ยินยอมให้จำเลยใช้สิทธิยกเลิกสัญญานี้ได้ทันที โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าและจำเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือค่าเสียหายใด ๆ ทั้งสิ้นขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ที่กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนการที่จำเลยทำสัญญากับโจทก์ให้ผิดแผกแตกต่างไปจากข้อที่กฎหมายกำหนดไว้และทำให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้รับความเสียหาย จึงตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งการจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งผู้อำนวยการก็เป็นการจ้างเข้าทำงานในตำแหน่งงานปกติของจำเลย จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา  118 วรรคสาม จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง

หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ไม่มากก็น้อยนะคะ

ติดต่อจ้างงาน info@legalclinic.co.th

ไม่จ้างแต่อยากปรึกษากดโอนและสนับสนุนเพจแล้วถามมาใน inbox ค่ะ