ทายาทตามกฎหมายในการรับมรดก
เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายแน่นอนว่าสิ่งที่ทายาทต้องทำ คือ จัดการทรัพย์มรดกให้แก่ทายาท แต่ทายาทตามกฎหมายมีใครบ้าง วันนี้จะมาอธิบายให้ฟังดังนี้ค่ะ
1.ถ้าผู้ตายมีคู่สมรส ต้องดูว่าทรัพย์สินนั้น เป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรส ถ้าเป็นสินสมรส จะต้องแบ่งให้คู่สมรสครึ่งหนึ่งก่อน และส่วนที่เหลือเป็น “ทรัพย์มรดก” ที่จะตกทอดแก่ทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรม
2.ถ้ามีพินัยกรรม ต้องดูว่าผู้ตายได้ยกทรัพย์มรดกให้แก่ผู้รับพินัยกรรมเท่าใด หากยกให้ทั้งหมด ทายาทโดยธรรมจะไม่มีสิทธิได้รับมรดก แต่หากยกให้เพียงบางส่วน ส่วนที่เหลือจะนำมาแบ่งแก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับ
3.พิจารณาว่าใครบ้างที่เป็นทายาทโดยธรรม เพื่อที่จะทราบว่าใครบ้างที่เป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดก และได้รับในสัดส่วนเท่าใด โดยทายาทโดยธรรมมีทั้งหมด 6 ลำดับ ได้แก่
ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรบุญธรรม บุตรที่บิดารับรองโดยพฤตินัย)
ลำดับที่ 2 บิดามารดาที่ชอบด้วยกฎหมาย
ลำดับที่ 3 พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน (ตามสายเลือด)
ลำดับที่ 4 พี่น้องร่วมแต่บิดาหรือมารดาเดียวกัน
ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย (โดยชอบด้วยกฎหมาย)
ลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา (ตามสายโลหิต)
***ซึ่งทายาทโดยธรรมนี้ ไม่ใช่ว่าทุกคนจะได้รับมรดกเท่าๆกัน ตามกฎหมายมีหลักเกณฑ์ที่เรียกว่า “ญาติสนิทตัดญาติห่าง” กล่าวคือ หากมีทายาทในลำดับก่อนหน้า ทายาทลำดับถัดไปจะไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย
***ในกรณีที่ผู้ตายมีคู่สมรส “คู่สมรส มีสิทธิรับมรดกเสมอ” แต่จะได้รับมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับว่า ต้องรับมรดกร่วมกับทายาทโดยธรรมประเภทญาติในลำดับใด (รับร่วมกับทายาทโดยธรรมตามลำดับ)
***กรณีทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 และ ลำดับที่ 2 ยังมีชีวิตอยู่ ทั้งสองลำดับสามารถรับมรคกร่วมกันได้ โดยได้รับมรดกในสักส่วนที่เท่าๆกัน คู่สมรสก็ได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน (หารเท่า)
4.กรณีไม่มีทายาทโดยธรรม หรือ ผู้รับพินัยกรรม มรดกนั้นจะตกทอดแก่แผ่นดิน
ตัวอย่างการแบ่งมรดก เช่น เมื่อผู้ตายเสียชีวิตและมีทรัพย์มรดกเป็นเงินสด 1,000,000 บาท และผู้ตายมีทายาท ได้แก่ คู่สมรส บุตร บิดาและมารดา ทรัพย์มรดกจะต้องแบ่งตังต่อไปนี้
– คู่สมรสได้ครึ่งนึงของเงินมรดกก่อน คือ 500,000 บาท
– เงินอีก 500,000 บาท ถึงจะนำมาแบ่งให้แก่ทายาทโดยธรรมตามลำดับ ได้แก่ คู่สมรส, บุตร บิดาและมารดา คนละเท่าๆกัน คือ คนละ 125,000 บาท นั่นเอง