แบบไหนถึงจะเรียกว่าบีบออก ที่ลูกจ้างจะมีสิทธิ์ได้เงินชดเชย ?
อย่างที่ทราบกันดีว่าการลาออกโดยไม่สมัครใจลูกจ้างยังมีสิทธิ์ได้ค่าชดเชยตามระยะเวลาที่ทำงานมา (ดูม.118) ใน inbox จึงมีคำถามเข้ามาแทบทุกวันว่าพืชมีการที่ตนเองเจออยู่นั้นคือการบีบออกหรือไม่และมีสิทธิ์ได้ค่าชดเชยเท่าไหร่
สำหรับคำถามแรกว่าจะได้ค่าชดเชยเท่าไหร่นั้นกรุณาดูที่มาตรา 118 พรบคุ้มครองแรงงาน
สำหรับคำถามต่อมาที่บอกว่าพฤติกรรมไหนบ้างคือบีบออก อันนี้ต้องดูเป็นรายกรณีดูเป็นเคสๆไปเพราะกฎหมายไม่ได้มีนิยามตายตัวว่าพฤติกรรมอะไรบ้าง 1 2 3 4 คือการบีบออกแต่หากเทียบเคียงตามแนวคำพิพากษาที่ผ่านมานั้น กรณีที่นายจ้าง ให้ลูกจ้างลาออกโดยไม่สมัครใจถือเป็นการเลิกจ้าง เช่นเรียกลูกจ้างไปเซ็นใบลาออกและบอกว่าหากไม่ออกก็จะเลิกจ้างและทำให้มีประวัติด่างพร้อยทั้งๆที่ลูกจ้างก็ไม่ได้ทำผิดอะไรร้ายแรง หรือเรียกเข้าไปประชุมเลิกจ้าง แต่กลับให้เซ็นใบลาออกแทนโดยอ้างว่าถ้าไม่เซ็นก็จะไม่จ่ายเงินเดือนให้ เป็นต้น
ส่วนพฤติกรรม เลวร้ายบางประการอาจจะไม่ใช่การบีบออกแต่อาจจะเป็นนิสัยของนายจ้างและผู้บังคับบัญชาเองเช่นพูดจาหยาบคายหรือทำให้รู้สึกกดดันเหตุการณ์เร่งงาน หรือเอาตัวอย่างที่ถามมาในบล็อก เช่นพฤติกรรมให้ทำโอทีแต่ไม่จ่ายค่าโอทีให้พฤติกรรมนี้ศาลก็ไม่ได้ถือว่าเป็นการบีบออกหากลูกจ้างลาออกเองก็จะไม่ได้ค่าชดเชยเพราะห่างนายจ้างให้ทำงานล่วงเวลาโดยไม่ได้ให้ค่าล่วงเวลา ลูกจ้างก็ยังมีสิทธิ์ไปร้องต่อกรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงานและศาลแรงงานการที่ลูกจ้างพิจารณา ลาออกเพราะไม่ได้โอทีจึงไม่ใช่การบีบออกเป็นต้น
ใครอยากดูฎีกาเทียบเคียงลองไปดูได้ที่ ฎ.10044/2556