เลิกจ้างเพราะเกษียณอายุไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
หลายคนมีคำถามว่าการเกษียณอายุต้องอายุเท่าไหร่กันแน่ 50-55 หรือ 60 เพราะข้อบังคับไม่มีบอกไว้กรณีที่ข้อบังคับ การทำงานบริษัทไม่มีบอกไว้ให้ถือเอาตามกฎหมาย
โดย มาตรา 118/1 พรบ. คุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ว่า การเกษียณอายุตามที่นายจ้างหรือลูกจ้างตกลงกันหรือตามที่นายจ้างกำหนดไว้ให้ถือว่าเย็นการเลิกจ้างตามมาตรฯ 118 วรรคสอง
ในกรณีที่มีได้มีการตกลงหรือกำหนดการเกษียณอายุไว้ หรือมีการตกลงหรือกำหนตการเกษียญอายุไว้เกินกว่าหกสิบปี ให้ลูกจ้างที่มีอายุครบหกสิบปีขึ้นไปมีสิทธิแสดงเจหนเกษียญอายุได้ โดยให้แสดงเจตนาต่อนายจ้างและให้มีผลเมื่อครบสามสิบวันนับแต่วันแสดงเจตนา และให้นายข้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เกษียฌอายุนั้น ตามมาตรา 118 วรรคหนึ่ง”
กรณีข้อบังคับฯ กําหนดเกษียณอายุ 60 ปีบริบูรณ์ โดยให้พ้นสภาพในวันที่ 1 มกราคม ในปีถัดไป ดังนั้นลูกจ้างจึงต้องเกษียณอายุงานในวันที่ 1 มกราคม 2560
แต่เมื่อนายจ้างไม่ได้จัดให้ลูกจ้างเกษียณอายุตามข้อบังคับฯ โดยยังคงให้ลูกจ้างทํางานต่อไปอีก 1 ปีเศษ นับว่าเป็นการเอื้อประโยชน์และเป็นคุณแก่ลูกจ้างเป็นอย่างยิ่งแล้ว
หลังจากนั้นนายจ้างย่อมสามารถที่จะอ้างข้อบังคับฯ ในเรื่องเกษียณอายุมาใช้บังคับได้อีก การที่นายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุเกษียณอายุ จึงไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม รวมถึงลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินโบนัส ลูกจ้างต้องมีสภาพเป็นลูกจ้างในขณะถึงกําหนดจ่ายเงินโบนัส
คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษเลขที่ 521/2562