กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานสิทธิของคนท้อง ตามกฎหมายแรงงาน

15 June 2023
สิทธิของคนท้องตามกฎหมายแรงงาน
 
(1) คนท้องขอเปลี่ยนงานได้ โดยสามารถขอใบรับรองแพทย์เพื่อยืนยันว่า ไม่สามารถทำงานในหน้าที่เดิมต่อได้ เพื่อนำไปยื่นให้กับนายจ้าง เพื่อขอเปลี่ยนงานชั่วคราวก่อนหรือหลังคลอดได้ และนายจ้างมีหน้าที่ต้องเปลี่ยนงานที่เหมาะสมให้ หากไม่ปฏิบัติตามมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากการไม่ปฏิบัติตามนั้นเป็นเหตุให้ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กาย จิตใจ หรือถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 
(2) ห้ามให้คนท้องทำงานในช่วงเวลา 22.00 น. ถึง 06.00 น. ทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด
เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่คนท้องต้องได้รับการพักผ่อน โดยรวมถึงการทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด โดยถ้าหากหญิงตั้งครรภ์เคยทำงานในกะกลางคืน นายจ้างต้องเปลี่ยนช่วงเวลาในการทำงานเป็นกะกลางวันให้แทน
หากเป็นงานในตำแหน่งผู้บริหาร งานวิชาการ ธุรการ การเงิน บัญชี นายจ้างอาจให้ทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆ ไป
 
(3) คนท้องมีสิทธิลางาน เพื่อตรวจครรภ์และคลอดบุตรได้ ไม่เกิน 98 วันต่อครั้ง โดยนับรวมวันหยุดต่างๆ เข้าไปด้วย และนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง 45 วัน ในอัตรา 100% ของค่าจ้าง และสำนักงานประกันสังคมจ่ายเพิ่มให้อีก 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 45 วัน
 
(4) ห้ามเลิกจ้างหญิงตั้งท้อง หากคุณแม่ที่กำลังตั้งท้องโดนบริษัทเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดใดๆ นายจ้างจะมีความผิดทางอาญา ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (แต่ไม่นับรวมการเลิกจ้างด้วยเหตุผลอื่น เช่น การทุจริตต่อหน้าที่ หรือขาดงานติดต่อกันมากกว่าสามวัน ในกรณีนี้สามารถเลิกจ้างได้โดยนายจ้างไม่มีความผิด)
 
(5) ห้ามทำงานบางชนิด เช่น งานประเภทแบกหาม หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม งานที่ทำในเรือ งานขับเคลื่อนที่ติดไปตามยานพาหนะ และงานเกี่ยวกับเครื่องจักร เป็นต้น