กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานบริษัทแม่อยู่อเมริกา บริษัทลูกอยู่ในไทย เจ้านายในไทย “ท้าให้ไปฟ้องที่อเมริกา” แบบนี้ทำยังไงดีคะ

9 June 2023
บริษัทแม่อยู่อเมริกา บริษัทลูกอยู่ในไทย
เจ้านายในไทย “ท้าให้ไปฟ้องที่อเมริกา”
แบบนี้ทำยังไงดีคะ
ก่อนที่จะตอบหลักกฎหมายอยากบอกนายจ้างว่าไม่ต้องมาขู่ค่าาา ไม่ต้องมาอ้างว่าต้องอนุมัติจากอเมริกา เงินส่งมาจากอเมริกา เพราะเราเป็นแค่บริษัทสาขาไม่มีสิทธิ์จ่ายจึงฟ้องไม่ได้
การที่บริษัทที่ต่างประเทศมีสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทยที่จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด ก็เป็นไปเพื่อความสะดวกในการบริหารงานและทำงานในประเทศต่างๆ ดังนั้นไม่ว่าบริษัทในไทยจะเป็นคนบอกเลิกหรือบริษัทในอเมริกาจะเป็นคนบอกเลิก โดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำผิด นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง
ใครที่อยากหากรณีใกล้เคียงลองไปอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17815/2555 ที่ศาลได้โปรดพิพากษาว่า …
“นายจ้างจดทะเบียนในประเทศต่างๆ ทั่วโลก ถ้ามีกำไรก็ต้องส่งเข้าบริษัทแม่”
เช่นเดียวกัน หุ้นของบริษัทที่มีการซื้อขายในตลาดหุ้นทั่วโลกก็เป็นหุ้นตัวเดียวกัน ไม่ได้แสดงว่าบริษัททุกแห่ง เป็นเจ้าของเดียวกัน ลูกจ้างจึงมีอำนาจฟ้องนายจ้างที่สาขาได้
จำเลยเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัท ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศอเมริกา นอกจากจำเลยแล้ว บริษัทจดทะเบียนในประเทศต่าง ( ทั่วโลกอีกนับร้อยบริษัท แม้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันแต่ทุกบริษัทมีนโยบายและการบริหารไปในทิศทางเดียวกัน ถ้ามีกำไรก็ต้องส่งเข้าบริษัทแม่เช่นเดียวกัน
หุ้นของบริษัทที่มีการซื้อขายในตลาดหุ้นทั่วโลกก็เป็นหุ้นตัวเดียวกัน ไม่ใด้แยกเป็นหุ้นต่างหาก แสดงว่า บริษัททุกแห่งที่จดทะเบียนเป็นบริษัทกระจายอยู่ทั่วโลกเป็นเจ้าของเดียวกัน โดยมีศูนย์ใหญ่หรือสำนักงานใหญ่ที่ประเทศอเมริกา กรรมการของบริษัทต่าง ๆ ก็แต่งตั้งจากพนักงานของบริษัทนั้น ๆ มิได้มาจากเจ้าของกิจการ แสดงให้เห็นว่าได้จดทะเบียนเป็นบริษัทในประเทศต่างๆ นั้น เพื่อให้เกิดความสะดวกในการบริหารจัดการ
โจทก์เข้าทำงานกับจำเลย (บริษัท ) ตั้งแต่ปี 2527 ตำแหน่งวิศวกรแล้วเลื่อนเป็นผู้จัดการโรงงาน ต่อมาได้รับมอบหมายให้ไปทำงานที่บริษัท สาขา เชี่ยงไฮ้ จำกัดเป็นการชั่วคราวด้วยความยินยอม ขณะที่โจทก์กำลังทำงานได้รับค่าจ้างแบ่งเป็น 6 ส่วน ส่วนหนึ่งรับที่เซี่ยงไฮ้
อีกส่วนหนึ่งส่วนที่เหลือรับในประเทศไทย โดยจำเลยเป็นผู้โอนเข้าบัญชี จำเลยได้เรียกเงินเดือนที่จำเลยโอน เข้าบัญชีโจทก์คืนจากบริษัท สาขา เชี่ยงไฮ้ โจทก์อยู่ใต้บังตับบัญชาของ
นาย ก.ได้เสนอให้โจทก์ย้ายไปทำงานที่ บริษัท สาขา สิงคโปร์ โจทก์ไม่ยินยอม นาย ก. จึงมีหนังสือเลิกจ้างโจทก์แทน โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยและถือว่าจำเลยได้เลิกจ้างโจทก์แล้ว จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์”