หัวหน้าแผนกไล่ออก พอไปฟ้อง
บริษัทบอกว่า คนไล่ออกไม่มีอำนาจ ลูกจ้างขาดงานไปเองเกิน 3 วันบริษัทจึงต้องเลิกจ้าง
กรณีที่มีผู้เข้ามาสอบถามนี้เราอาจจะเห็นได้บ่อยๆ สำหรับบริษัท ในทุกขนาด หากเป็นบริษัทขนาดเล็กบริหารงานแบบ family business ก็อาจจะเห็นได้ว่าไม่ได้มีเฉพาะกรรมการผู้จัดการหรือฝ่าย HR เป็นคนเลิกจ้าง บางทีเป็นภรรยาของท่านหัวหน้างานหรือเป็นหัวหน้าแผนกก็เลิกจ้างได้เหมือนกัน
เมื่อพนักงานถูกเลิกจ้างเรียบร้อยแล้วไปใช้สิทธิที่ศาลปรากฎว่าบริษัทก็สู้คดีบอกว่าการแสดงเจตนาเลิกจ้างโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจนั้นย่อมไม่มีผลทำให้สัญญาจ้างที่สุดลง แถมยังสู้ด้วยว่า ลูกจ้างมาหาไม่ขาดงานไปเองจึงเป็นเหตุให้เลิกจ้าง ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีนี้ต้องพิจารณาโดยละเอียดสำหรับผู้ที่ถามเข้ามาแล้วให้ตอบทันทีเลยก็อาจจะตอบได้ยากเพราะต้องฟังข้อเท็จจริงทั้งสองฝ่าย รวมถึงดูเอกสารและหลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องแต่เบื้องต้นขอให้ความเห็นดังนี้ค่ะ
การแสดงเจตนาเลิกสร้างโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจย่อมไม่มีผลทำให้สัญญาจ้างสิ้นสุดลงเว้นแต่นายจ้างจะได้ให้สัตยาบัน หรือกระทำพฤติการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำให้เห็นว่านายจ้างได้เชิดบุคคลนั้นให้มีอำนาจเลิกสร้างแทนนายจ้างเป็นตัวแทนของนายจ้างด้วยนายจ้างรู้เห็นยินยอมก็อาจถือได้ว่าบุคคลนั้นเป็นนายจ้างที่มีอำนาจเลิกจ้างได้เช่นบริษัท ABC มีนาย หล่อเป็นกรรมการผู้จัดการโดยมีนางสาวสวย เป็นหัวหน้าแผนกหนึ่ง ออกมานางสาวสวยไม่มีปากเสียงกับพนักงานภายในแผนกจึงได้เรียกพนักงาน มาบอกเลิกจ้าง ซึ่งบริษัทก็รับทราบและฝ่าย HR ก็ได้ออกหนังสือรับรองการทำงานให้ ร่วมทั้งจ่ายเงินงวดสุดท้ายและคืนเงินหลักประกันการทำงานให้แก่พนักงานรายดังกล่าวกรณีนี้ก็ถือได้ว่านางสาวสวยกระทำการเรียนนายจ้างในฐานะตัวแทนเชิญอันมีคนผูกพันในจ้างก็ได้บอกเลิกจ้างแล้ว
คดีเช่นนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งใครสนใจที่จะอ่านลองไปหาอ่านกันได้ที่คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2547
ติดต่องาน info@legalclinic.co.th