กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานลูกจ้างลากิจไปดูแลแม่เกิน 3 วัน นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่ ?

5 June 2023
ลูกจ้างลากิจไปดูแลแม่เกิน 3 วัน นายจ้างเลิกจ้างได้หรือไม่?
คำถามใน inbox วันนี้เป็นคำถามที่น่าตกใจ แล้วก็น่าเห็นใจ จริงๆกับกรณีที่ลูกจ้างรายนึงขอลากิจไปดูแลแม่ที่ต่างจังหวัด 1 สัปดาห์เพราะว่าแม่ได้รับอุบัติเหตุไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และตัวเองก็ไม่มีพี่น้องพอที่จะไหว้วานได้ ประกอบกับความเป็นห่วงแม่ซึ่งขอลากิจ ไป 1 สัปดาห์ทั้งๆที่สิทธกิจมีเพียง 3 วันเท่านั้น ปรากฏว่านายจ้างก็ไม่พูดพร่ำทำเพลงส่งหนังสือเลิกจ้างมาเลย ก็ถือว่า ขาดงาน เกิน 3 วัน กรณีแบบนี้ มาเป็นลูกจ้างก็มีแนวทางดำเนินการตามกฎหมายอย่างไร
หากพูดตามหลักกฎหมายก่อนต้องเข้าใจก่อนว่า การที่ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ไป 3 วันทำงานติดต่อกันนั้น จะต้องเป็น “การละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร”
จึงเป็นที่น่าสงสัยว่า “เหตุอันสมควรคืออะไรบ้าง” แล้วกรณีที่สอบถามเข้ามานั้นถือว่าเป็นเหตุอันสมควรหรือเปล่า
อ้างอิงตามหนังสือของอาจารย์พงรัตน์ เครือกลิ่น เหตุอันสมควรก็อาจจะแบ่งได้ ดังนี้
1. ละทิ้งหน้าที่เพราะสุขภาพร่างกายก็ถือว่ามีเหตุอันสมควร ไม่ต้องยกตัวอย่างที่ไหนไกลยกตัวอย่างไฟล์นี่แหละ ว่าลางาน โดยที่ ไม่มีใบรับรองแพทย์แต่ว่ามีเหตุจำเป็นในเรื่องของการเจ็บป่วย เมื่อไปหาหมอหมอก็เขียนแค่ว่ามีอาการป่วยจริงแต่ไม่ได้บอกว่าให้หยุดกี่วัน หาโดยสภาพ โดยสังขารของวันนี้แล้ว ไปไม่ไหวจริงๆมีหลักฐานอื่นรองรับก็ไม่ถือว่าเป็นการละทิ้งงานโดยไม่มีเหตุอันควร
2. ละทิ้งหน้าที่เพราะเหตุจำเป็น ของครอบครัวก็ถือว่ามีเหตุอันสมควร เช่น ต้องดูแลบิดามารดา คู่สมรส หรือบุตร
3. ละทิ้งหน้าที่เพราะเหตุทางสังคม ถือว่าไม่มีเหตุอันควร เช่น ขอลาไปงานแต่งเพื่อน ลาไปงานบวชเพื่อน เป็นต้น
ส่วนกรณีตามคำถามว่าได้แจ้งนายจ้างแล้วว่าขอลาไปดูแลมารดาในกรณีนี้ฝ่ายมองว่าเป็นเหตุอันสมควรค่ะ เพราะว่ามีเหตุจำเป็นไม่ว่าจะเป็นบิดามารดาคู่สมรสบุตร โดยมีฎีกาที่ 3651/2559 วินิจฉัยไปทำนองเดียวกันว่าลูกจ้างได้รับอนุญาตให้ลากิจ 3 วันก่อนครบกำหนดลาลูกจ้าง โทรเลขมาบอกผู้บังคับบัญชาว่าแม่ยังป่วยไม่หายเลยต้องอยู่ดูแล 12 วันโดยไม่ลา
กรณีนี้ถือว่าละทิ้งหน้าที่แต่ก็เป็นเหตุอันสมควร ดังนั้น หานายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างในกรณีนี้ก็อาจจะต้องจ่ายค่าชดเชย เพราะ ไม่ ถือว่าละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร
ดังนั้นนายจ้างแล้วลูกจ้างลองศึกษาแนวทางดังกล่าวให้ดีๆนะคะ
ติดต่องาน info@legalclinic.co.th