นายจ้างตั้งคณะกรรมการสอบว่าผมผิด ถือเป็นการบีบออกหรือเปล่า?
เป็นอีกประเด็นคำถามที่น่าสนใจ กับกรณีที่ถามมาว่านายจ้าง เกิดความไม่ไว้วางใจ ลูกจ้างรายนึงจึงได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวน ระหว่างการสอบสวนลูกจ้างรู้สึกกดดันไม่สบายใจจึงได้ยื่นใบลาออก หลังจากยื่นใบลาออกก็มาสอบถามว่ากรณีนี้ถือว่าถูกบีบออกหรือไม่และจะสามารถเรียกร้องเงินค่าชดเชยได้เท่าไหร่
ต้องขอเรียนตามตรงค่ะหลายๆครั้งคำว่าบีบออกไม่ได้ มีคำนิยาม ตายตัวตรงตัวเป๊ะๆตามกฎหมาย ว่าต้องทำอย่างไรจึงจะถือว่าบีบออก จึงต้องพิจารณา จากข้อเท็จจริงในแต่ละรายและแต่ละเรื่องไปที่สำคัญพิจารณาจากข้อมูลของฝ่าย 1 ฝ่ายใดแต่ฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงไม่สามารถตอบได้ว่ากรณีนี้ ถือว่าบีบออกหรือไม่แต่ที่แน่ๆในกรณีนี้มีคำพิพากษาศาลฎีกาเทียบเคียง คือคำพิพากษา ศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 312/2564
โดยคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนาญพิเศษดังกล่าวก็เป็นเรื่องใกล้เคียงกันค่ะเรื่องกรณีดังกล่าวได้สอบสวนแล้วและปรากฏว่าลูกจ้างมีความผิดด้วย แต่อยู่ระหว่างรวบรวมเอกสารหลักฐาน เพื่อพิสูจน์ความเสียหาย และในทางนำสืบทางบริษัทก็สามารถนำสืบได้ว่า ไม่ได้มีการข่มขู่ให้เขียนใบลาออกแต่อย่างใดแต่ลูกจ้างเป็นผู้พิจารณา ตัวเองรู้สึกกดดันกับการถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนและเป็นผู้ลาออกเองโดยความสมัครใจในคดีนี้ศาลจึงพิพากษาให้นายจ้างชนะคดีและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด
คดีน่าสนใจนะคะใครอยากลองอ่านพฤติการณ์ของคำว่าบีบออกว่าใช่หรือไม่ใช่คำพิพากษานี้ก็เป็นอีกหนึ่งคำพิพากษาที่น่าสนใจค่ะลองไปหาอ่านดูนะคะ
ติดต่องาน
Info@legalclinic.co.th