กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานนายจ้างกำหนดจ่ายค่าล่วงเวลาแบบเหมาจ่าย ผิดกฎหมายหรือไม่ ?

28 May 2023
นายจ้างกำหนดจ่ายค่าล่วงเวลาแบบเหมาจ่าย ผิดกฎหมายหรือไม่ ?
OT หรือค่าล่วงเวลา คือ เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานล่วงเวลาในวันและเวลาทำงานปกติ โดยการทำงานล่วงเวลาถือเป็นสิทธิของลูกจ้างที่จะทำหรือไม่ก็ได้ นายจ้างไม่มีสิทธิที่จะใช้หรือบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้ ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างเป็นคราวๆไป
ดังนั้น นายจ้างย่อมไม่มีสิทธิมากำหนดการจ่ายค่าล่วงเวลาแบบเหมาจ่าย ต้องจ่ายตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ว่า การจ่ายค่าล่วงเวลาในวันทำงาน โดยให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้าง เมื่อลูกจ้างได้ทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน โดยให้จ่ายในอัตราไม่น้อยกว่า 1.5 ของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ
ข้อกำหนดการจ่ายค่าล่วงเวลาแบบเหมาจ่ายของนายจ้างจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามคำพิพากษาฎีกาที่ ๕๙๗๘/๒๕๕๐ ข้อตกลงที่รวมค่าล่วงเวลาเหมาจ่ายไปกับค่าจ้างในเวลาทำงานตามปกติโดยไม่มีการคิดค่าล่วงเวลาที่ทำจริง เป็นการเอาเปรียบลูกจ้างทั้งมีลักษณะเป็นการผูกพันให้ลูกจ้างต้องยอมทำงานล่วงเวลาตลอดไปโดยนายจ้าง ไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างก่อนเป็นคราวๆ ไป จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งขัดต่อพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๑ ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน และตกเป็นโมฆะ
เพิ่มเติมอีกนิด แล้วถ้าเหมาจ่ายคำนวนแล้วจ่ายไม่ครบถ้วนตามกฎหมายมีความผิดอีกนะคะ ติดไว้ก่อนแล้วจะมาอธิบายนะ