นายจ้างรู้ยัง ออกหนังสือเตือนด้วยพักงานด้วยก็ทำได้ ถ้าข้อบังคับเขียนไว้ !!
คำพิพากษาที่กำลังจะมาเล่าในต่อไปนี้ เป็นคำพิพากษาที่น่าสนใจมากเพราะเป็นกรณีที่นายจ้างออกหนังสือเตือนแล้วก็ให้พักงานลูกจ้างต่อมาลูกจ้างก็ทำผิดซ้ำคำเตือนเดิมอีกนายจ้างจึงเลิกจ้าง!!
จึงเป็นประเด็นโต้แย้งกันว่า…
อ่าวเห้ย…ก็คราวที่แล้วเตือนแล้วพักงานแล้วด้วย ก็ถือว่าลงโทษไปแล้วนี่จะมาลงโทษซ้ำอีกได้ยังไง แบบนี้เป็นการเลิกจ้างที่ไม่ถูกต้องเลยนะ
ต้องบอกก่อนว่าในกรณีนี้ “ทำได้จ้า” ถ้าข้อบังคับเปิดช่องไว้ โดย
พิพากษาฎีกาที่ 1074/2558
ลงโทษพักงานโดยไม่จ่ายค่าจ้างและเตือนในคราวเดียวกันได้ ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
การที่ลูกจ้างทำความผิดครั้งแรกและบริษัทฯ ลงโทษด้วยการให้พักงาน 7 วัน โดยไม่ได้รับค่าจ้างและไม่ให้ลูกจ้างทำผิดซ้ำอีก หากยังกระทำผิดวินัยไม่ว่ากรณีใดๆ จะพิจารณาลงโทษขั้นปลดออกโดยไม่จ่ายค่าชดเชยใดๆ
หนังสือเตือนดังกล่าว มีลักษณะเป็นหนังสือตักเตือน + เป็นการใช้ดุลพินิจในการใช้อำนาจบริหารจัดการของบริษัทที่จะลงโทษลูกจ้างหลายข้อรวมกันได้ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท*** ( สังเกตตรงดอกจานนี้ดีๆนะนั่นหมายความว่าข้อบังคับของบริษัทต้องเขียนไว้แบบนี้ด้วยว่าสามารถลงโทษหลายข้อรวมกันได้)
การที่บริษัทลงโทษพักงานลูกจ้างและในขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษก็ยังมีคำเตือนอยู่ด้วย ก็ไม่ได้ทำให้หนังสือเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วย เมื่อลูกจ้างแสดงกิริยาวาจาก้าวร้าว และท้าทายต่อผู้บังคับบัญชาจนถูกตักเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว ต่อมาก็ยังทำผิดซ้ำเรื่องเดิมอีก เป็นการกระทำผิดลักษณะเดียวกันกับในหนังสือเตือน และยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่กระทำผิด
ดังนู้น การกระทำของ ลูกจ้างจึงเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน บริษั มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ฯ มาตรา 119 (4)