นายจ้างบอกเลิกจ้างทางโทรศัพท์ จะอ้างว่าไม่มีผลและลูกจ้างขาดงานเกิน 3 วันจึงเลิกจ้าง ไม่ได้!!!
การบอกเลิกจ้างไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ว่าต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้นการบอกเลิกจ้างด้วยวาจา
จึงมีผล และสามารถทำได้ และการบอกเลิกจ้างก็มีผลทันที เมื่อนายจ้างบอกเลิกจ้างโดยไม่ได้แจ้งเหตุที่จะเลิกจ้าง โดยไม่จ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างทราบ การเลิกจ้างก็มีผลสมบูรณ์ และลูกจ้างเข้าใจว่าถูกเลิกจ้าง ไม่มีสภาพเป็นพนักงานอีกต่อไป ลูกจ้างจึงไม่ทำงานให้นายจ้างอีกต่อไป จึงไม่ใช่เหตุที่นายจ้างจะยกขึ้นอ้างว่าลูกจ้างขาดงานเกิน 3 วัน จึงมีหนังสือเลิกจ้างด้วยเหตุนี้ เพราะการเลิกจ้างมีผลสมบูรณ์ตั้งแต่การบอกเลิกจ้างทางโทรศัพท์แล้ว นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าชดเชยในการเลิกจ้างให้ลูกจ้างด้วย
ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 30/2563 เห็นว่า การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง “ทางโทรศัพท์” ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 การที่ลูกจ้างไม่มาทำงานหลังจากนั้นระหว่างวันที่ 1 – 7 กุมภาพันธ์ 2562 ความเป็นลูกจ้างนายจ้างจึงสิ้นสุดลงก่อนแล้ว การที่นายจ้างมีหนังสือเลิกจ้าง โดยอ้างขาดงานติดต่อกันเกินกว่า 3 วันทำงานจึงไม่มีผลเป็นการเลิกจ้างอีกความเป็นลูกจ้างนายจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงสิ้นสุดลงก่อนแล้ว การที่โจทก์มีหนังสือเลิกจ้าง โดยอ้างเหตุว่าจำเลยที่ 2 ขาดงานตั้งแต่วันที่ 1 – 7 กุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่แจ้งเหตุและไม่มีเหตุอันสมควร ถือว่าจำเลยที่ 2 ขาดงานติดต่อกันเกินกว่า 3 วันทำงานขึ้นไปและมีหนังสือเลิกจ้างจำเลยที่ 2 จึงไม่มีผลเป็นการเลิกจ้างจำเลยที่ 2 อีก
แต่ขอแนะนำว่าเพื่อป้องกันปัญหาที่จะตามว่า การเลิกจ้างควรทำเป็นหนังสือ เพื่อให้มีพยานหลักฐานและถูกต้องครบถ้วนตามเจตนาของนายจ้าง และไม่ควรบอกเลิกจ้างโดยไม่ไตร่ตรองให้ดีก่อนนะคะ เตือนแล้วนะ