นายจ้างเฉลี่ย ให้ใช้ลากิจ 4 เดือนได้ 1 ครั้ง แบบนี้ทำไม่ได้!!
คำถาม inbox วันนี้เป็นคำถามที่ต้องเปิดอ่านซ้ำ เพราะมีเพื่อน HR ท่านนึงถามว่า “นายจ้างให้กำหนดสัดส่วนวันลากิจ เช่นใน 4 เดือนได้ 1 ครั้ง รวมเป็น 1 ปีลากิจได้ 3 ครั้ง บอกว่าเป็นไปตามกฎหมาย”
เป็นไปตามกฎหมายอะไรอ่ะ ฮืออออ…
“ตามพพรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตรา 34 ประกอบมาตรา 57/1 กำหนดให้ลูกจ้างสามารถลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี โดยมีสิทธิ์ได้รับค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานปกติตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 3 วันทำงานต่อปี ” กำหนดแค่นี้เลยไม่ได้กำหนดสัดส่วนไว้
นายจ้างเองอาจจะต้องพิจารณาด้วยนะบางเรื่องที่มันเป็นกิจธุระอันจำเป็นมันทำวันเดียวไม่เสร็จกฎหมายเขาก็กำหนดระยะเวลาไว้ชัดเจนแล้วว่า ให้ลูกจ้างรายได้ไม่น้อยกว่า 3 วันทำงานต่อปี
ที่นี้ในมุมนึงนายจ้างก็บอกว่างั้นหมายความว่าเข้ามาเดือนนึงก็ลากิจได้ 3 วันเลยหรอ??
” ใช่ค่ะถ้ามันเป็นกิจธุระอันจำเป็นที่คนอื่นทำแทนไม่ได้ รวมถึงกิจธุระส่วนตัวของครอบครัวที่คนอื่นไม่สามารถทำแทนได้ “
คือในการตีความกฎหมายเรามองว่าอย่าตีความอย่างแคบนักเลย บางเรื่องกฎหมายกำหนดมาให้แล้วก็ยังไปตีความยังแคบเพื่อตัดสิทธิ์จำกัดสิทธิ์กันอีกแน่นอนค่ะในมุมนายจ้างเราเข้าใจว่าอยากให้ทุกคนทำงานให้คุ้มเงินเดือน แต่นายจ้างก็ต้องคำนึงถึงสิทธิความเป็นมนุษย์ของลูกจ้างด้วย เพราะเอาจริงๆแล้วใน 365 วันเรามีกิจธุระส่วนตัวที่คนอื่นทำไม่ได้มากกว่า 3 วันเสียอีก
แต่อย่างไรก็ตาม เพื่อให้แฟร์กับทางนายจ้างด้วย นับตั้งแต่วันแรกที่น้องเขาเข้ามาสมัครงานนายจ้างอาจจะแจ้งให้น้องเขาทราบว่าการลาป่วยลากิจบ่อยๆมีผลต่อการพิจารณาให้โบนัสหรือเบี้ยขยันก็ว่ากันไปแล้ว แต่อย่าถึงขั้นไปกำหนดสัดส่วนเลยค่ะ ไม่ดีกับใครสักฝ่าย