กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานเลิกจ้างต้องระบุเหตุผลในการเลิกจ้าง ไม่เช่นนั้นจะยกขึ้นเป็นเหตุต่อสู้ไม่จ่ายค่าชดเชย “ไม่ได้”

28 March 2023
เลิกจ้างต้องระบุเหตุผลในการเลิกจ้าง ไม่เช่นนั้นจะยกขึ้นเป็นเหตุต่อสู้ไม่จ่ายค่าชดเชย “ไม่ได้”
บอกหลายทีแล้วว่าเวลาเขียนหนังสือเตือนหรือหนังสือเลิกจ้างก็ไม่ต้องกระมิดกะเมี้ยนเกรงใจกันขนาดนั้น ทำดีก็ให้ชม ให้รางวัล แต่ทำผิดก็ต้องเตือน เตือนนี่ก็เตือนเป็นหนังสือนะไม่ใช่พูดเฉยๆถ้าพูดเฉยๆวนไปวนมานี่เรียกว่า “บ่น” ไม่ได้เป็นการเตือนตามกฎหมายแรงงาน (คำนี้ดีฟังมาจากพี่ต๋องแฟนเพจ) เลิกจ้างก็ตรงไปตรงมา ระบุเหตุผลให้ชัดเจนในหนังสือเลิกจ้างไม่ใช่เขียนสั้นๆว่า ประพฤติตนไม่เหมาะสม
เหมือนนายจ้างรายนึง ที่มาปรึกษาว่ากรณีนี้ พนักงานประพฤติตนไม่เหมาะสมหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการดูแลลูกน้องในแผนก เรื่องความผิดทางวินัยอื่นๆ ที่ลูกจ้างฝ่าฝืนหลายประการ และยืนยันว่า ลูกจ้างผิดจริง แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่มีใบเตือนแทนหนังสือเลิกจ้าง ระบุเหตุผลโคตรสั้นเพียงว่า ประพฤตินไม่เหมาะสม
ในกรณีดังกล่าว ในทางกฎหมายเมื่อนายจ้างไม่ได้ระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างว่า ลูกจ้างประพฤติผิดวินัยอะไรบ้าง ที่เป็นความผิดวินัยตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างจะยกเหตุความผิดทางวินัยอื่นๆที่ไม่ได้ระบุไว้มาต่อสู้ เพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยไม่ได้
เทียบเคียงจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3553/2556
แล้วต้องเขียนยังไงดีคะ??
ใครอ่านมาถึงตรงนี้ก็อยากจะบอกว่านายจ้างก็ควรระบุข้อเท็จจริงที่เป็นเหตุเกี่ยวกับการเลิกจ้างและผลกระทบความเสียหายให้เพียงพอที่จะทำให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างได้ทราบว่าตัวเองถูกเลิกจ้างเพราะเรื่องอะไร เช่นลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับในข้อไหนบ้างโดยที่นายจ้างอาจจะไม่จำเป็นจะต้องระบุรายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมดก็ได้แต่ก็ต้องระบุให้เพียงพอที่จะให้ลูกจ้างได้ทราบสาเหตุแห่งการเลิกจ้างนั้น
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ใครยังไม่แน่ใจว่าจะต้องเขียนเลิกจ้างยังไงติดต่อ inbox ได้นะคะค่าบริการไม่แพง.. ทนายยังว่างอ่ะจ้างได้. อิอิ