ทำงานด้วยอารมณ์ เพื่อนร่วมงานไม่ประสงค์จะทำงานด้วย เลิกจ้างได้ไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม!!
จากคำถามหลังบ้านวันนี้ก็เป็นคำถามที่อ้างอิงว่าหัวหน้างานรายนึงเป็นคนใช้อารมณ์ทำงานทำให้ลูกน้องไม่อยากร่วมงานด้วยเลย และแผนกอื่นๆก็ไม่ประสงค์จะติดต่อการงานด้วยถ้าไม่จำเป็น ทำให้เกิดความลำบากในการติดต่อประสานงานเป็นอย่างมาก ในกรณีนี้สามารถเลิกจ้างได้หรือไม่คะ??
สำหรับความเห็นของเราเอง เรามองว่าในกรณีนี้หากเพื่อนร่วมงานไม่ประสงค์จะร่วมงานด้วยทำงานด้วยก็ลำบากและมีหลักฐานแน่ชัด ไม่ว่าจะเป็นการสอบสวนหรือการสอบถาม ความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา ที่มีหลักฐานแน่นอน ก็สามารถเลิกจ้าง โดยไม่ใช่การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมแต่อย่างใด แต่ยังต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากว่าไม่ได้เป็นความผิดตามมาตรา 119 แห่งพรบคุ้มครองแรงงานที่จะเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
(มาตรา 119 ได้บัญญัติยกเว้นให้ นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน โดยหนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด
(5) ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก)
ส่วนถ้าใครเกิดคำถามว่าความเห็นข้างต้น มีแหล่งที่มาหรือเทียบเคียงคำพิพากษาใดบ้าง ความเห็นข้างต้นนี้เรา เทียบเคียงตามคำพิพากษาที่ 2575/2524 ค่ะ .. เป็นกรณีที่ใกล้เคียงกันใครสนใจลองไปเปิดหาอ่านดูได้นะคะ