กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานเงินตามกฎหมายแรงงานที่นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้างมีอะไรบ้าง และต้องจ่ายภายในกี่วัน

13 March 2023
เงินตามกฎหมายแรงงานที่นายจ้างต้องจ่ายเมื่อเลิกจ้างมีอะไรบ้าง และต้องจ่ายภายในกี่วัน
เมื่อมีการเลิกจ้าง สิ่งที่นายจ้างต้องทำคือ จ่ายเงินค่าจ้างคงค้างหรือเงินอื่นๆ ให้แก่ลูกจ้างจนกว่าจะครบถ้วน
อย่างไรก็ตาม เงินที่กฎหมายแรงงานกำหนดมีหลายประเภทมาก วันนี้เลยจะมาสรุปให้ฟังว่า เงินแต่ละประเภทมีกำหนดการจ่ายอย่างไรบ้าง
นายจ้างจะได้ไม่สับสนและจ่ายเงินส่วนนี้ให้แก่ลูกจ้างได้อย่างถูกต้อง
1. ประเภทเงินที่ต้องจ่ายในวันที่เลิกจ้าง ได้แก่ ค่าชดเชยมาตรา 118, สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า, ค่าชดเชยพิเศษมาตรา 120,121 และ 122 ของพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ
2. ประเภทเงินที่ต้องจ่ายภายใน 3 วันนับแต่เลิกจ้าง ได้แก่ ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด (แต่ถ้าลูกจ้างลาออกเอง ไม่ได้เป็นการเลิกจ้างก็รอรอบกำหนดวันจ่ายเงินเดือนตามปกติ ไม่จำเป็นต้องจ่ายก่อนรอบก็ได้)
3. ประเภทของเงินที่ต้องจ่ายและคืนภายใน 7 วัน นับแต่วันที่เลิกจ้าง ได้แก่ ค่าชดเชยกรณีย้ายสถานประกอบการ และการคืนหลักประกัน
หากนายจ้างฝ่าฝืนไม่จ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างภายในกำหนดดังกล่าว ลูกจ้างสามารถไปแจ้งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ได้เลย เดี๋ยวเค้าจะจัดการเรียกให้นายจ้างจ่ายให้เอง นอกจากนี้นายจ้างยังต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี และมีโทษตามมาตรา 144 ของพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ด้วย คือ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
และสุดท้าย คือ หากนายจ้างที่กระทำผิดเป็นนิติบุคคล กรรมการอาจต้องร่วมรับโทษมาตรา 144 ของพรบ.คุ้มครองแรงงานฯ ด้วย
เพราะฉะนั้นอยากขอเตือนให้นายจ้างระวังให้ดีและปฏิบัติตามกฎหมายให้ครบถ้วนนะคะ