พูดระบายความในใจ…ไม่ถึงขั้นด่า
ก็อาจถูกเลิกจ้างได้นะ!!
ในเรื่องของการโพสต์ด่านายจ้างใน Facebook หรือโพสต์ระบายความในใจแล้วถูกเลิกจ้างทั้งที่มีกฎหมายแรงงานของเราได้นำเสนอไปหลายครั้งหลายหนแล้ว แต่ดูเหมือนว่าหลายคนยังจะไม่ได้อ่าน วันนี้เลยจะนำเสนออีกรอบนึงกับเรื่องที่ว่าการระบายความในใจไม่ถึงขั้นที่จะต้องด่านายจ้างก็มีสิทธิ์ถูกเลิกจ้างได้
วันนี้ขอยกตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8206/2560 เพื่อให้เห็นชัดๆเลยว่าลูกจ้างโพสต์ว่าอย่างไรและนายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
” เมื่อไหร่จะได้สิ่งที่ควรได้วะ…ต้องกินต้องใช้ไม่ได้แดกลมนะ”
“ใครเกลียดเจ้านายเป็นบ้าเป็นหลังโดนกลั่นแกล้งก็ให้หยุดความเกลียดความโกรธปล่อยให้เขาเป็นอย่างนั้นไปคนเดียวเพราะถ้ามีเจ้านายเฮงซวยก็ถือว่าเจ้านายของคุณมีทุกข์เยอะชีวิตเขาจะมาเจอลูกน้องเกลียดและเขาก็จะไม่มีความสุขในสิ่งที่เขาเป็นยุ่งเหยิงยิ่งกว่าหมอย…”
สังเกตนะคะลูกจ้างอ้างว่าลูกจ้างโพสต์ข้อความดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระบายความคับข้องใจแถมไม่ได้ระบุชื่อนายจ้างอีกต่างหากแต่ศาลแรงงานก็มองว่าการที่ใครอ่านก็ทราบได้ว่าลูกจ้าง กล่าวถึงนายจ้างของตนเอง
ข้อความดังกล่าวก็อาจทำให้กระทบต่อภาพลักษณ์ในการบริหารของนายจ้างซึ่งมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการของลูกค้าการกระทำดังกล่าวที่เรียกว่าโพสระบายความคับข้องหมองใจจึงเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายนายจ้างสามารถเลือกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยโดยอ้างอิงตามพรบคุ้มครองแรงงานมาตรา 119 รวมไปถึงประมวลกฎหมายแพ่งและอาคารนี้มาตรา 583 ซึ่งนายจ้างสามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและไม่ต้องจ่ายค่าตกใจให้แก่ลูกจ้างด้วย
ลูกจ้างท่านไหนอ่านมาถึงตรงนี้แล้วทอดถอนใจว่า “อะไรกันก็แค่บ่นศาลเข้าข้างนายจ้างจังเลยนะ” ก็ให้รู้ไว้นะคะการบ่นมีหลายแบบ เช่น เหนื่อยจริงโว้ยยยยย … วันนี้งานยุ่งยิ่งกว่ายุงตีกัน กรณีเช่นนี้หากโพสต์ลงไปก็ไม่ได้ทำให้รู้สึกว่านายจ้างเป็นคนไม่ดี หรือองค์กรบริหารงานไม่ดีหากเป็นเท่านี้ก็น่าจะไม่เข้ากับฎีกาที่ยกตัวอย่างมาค่ะ
แต่อย่างไรก็ตาม Facebook เป็นสื่อสาธารณะ ถ้าอยากระบายความคับข้องหมองใจก็ช่วยทำให้เห็น คนเดียวหรือระบายลงไดอารี่ก็ว่าไปอย่างในช่วงข้าวยากหมากแพงและงานหายากแบบนี้หากควบคุมใจไม่ได้ช่วยควบคุมพฤติกรรมและคำพูดด้วย ก็จะเป็นประโยชน์กับตัวเองไม่น้อยค่ะ