หนังสือเตือนที่เอามาเป็นเหตุเลิกจ้างได้ ต้องเป็นความผิดเดียวกัน ภายใน 1 ปีนับตั้งแต่กระทำความผิดครั้งแรก!!
ในการอบรมครั้งล่าสุดก็มีผู้เข้าเรียนมาปรึกษาว่าในบริษัทแห่งหนึ่งมีการออกหนังสือเตือนโดยที่ไม่ได้สนใจว่าเป็นความผิดเดียวกันหรือไม่ แต่หากเตือนไปแล้ว 2 ครั้งก็จะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย… นั่งฟังอยู่ 2 รอบได้แต่คิดในใจว่าอิหยังวะ…ออกมาแบบนี้ยังไม่เคยโดนฟ้องสินะ
นอกจากหลักกฎหมายที่บอกไปว่า กรณีที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้นั้นต้องมีการตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือมาแล้วแต่ต่อมาไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำความผิดลูกจ้างนั้นได้ฝ่าฝืนความผิดในลักษณะเดียวกันกับที่เคยถูกนายจ้างเตือนในครั้งก่อนอีกกรณีเช่นนี้เป็นการทำผิดซ้ำคำเตือนที่สามารถเลือกจ้างได้ (คำพิพากษาฎีกาที่ 3456/2549)
แต่ในทางกลับกันถ้ามีการเตือนลูกจ้างคนละเรื่อง แม้จะเป็นการกระทำความผิดในปีเดียวกัน ก็ต้องจ่ายค่าชดเชย ยกตัวอย่าง ในคดีนึงที่นายจ้างได้ตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือครั้งแรกเกี่ยวกับการปฏิบัติงานว่าเป็นการปฏิบัติงานบกพร่อง ไม่ได้ป้องกันให้ทรัพย์สินสูญหายต่อมาครั้งที่ 2 เป็นการตักเตือนเรื่องดื่มสุราและใช้ถ้อยคำไม่สุภาพการตอบโจทย์ทั้ง 2 ครั้งจึงเป็นความผิดคนละเหตุการณ์การเลิกจ้างลูกจ้างด้วยความผิดคนละเหตุแบบนี้นายจ้างซึ่งยังต้องจ่ายค่าชดเชยอ้างอิงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2532
เห็นไหมคะว่าถ้าเตือนคนละเรื่องเดียวกันไม่เป็นผลดีกับนายจ้างเลย ดังนั้นในฝ่ายนายจ้างเองก็ต้องศึกษาข้อกฎหมายให้ดีนะคะ ส่วนลูกจ้างเองก็อย่าย่ามใจไป เพราะการกระทำความผิดนั้นบางทีนายจ้างอาจจะไม่อยากจ่ายค่าชดเชยให้เลยก็ได้อาจจะต้องไปเจอกันในชั้นศาลอีกทีนึงซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องสนุกแน่นอน