กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานนายจ้างให้ความช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกอายัดเงินเดือนได้หรือไม่?

7 February 2023
นายจ้างให้ความช่วยเหลือลูกจ้างที่ถูกอายัดเงินเดือนได้หรือไม่?
หากฝ่าฝืนช่วยเหลือไปผลจะเป็นอย่างไร?​
เป็นอีกหนึ่งคำถามที่เหล่า HR หลายคนสงสัยและอยากจะลองเสี่ยงช่วยเหลือลูกจากที่ถูกอายัดเงินเดือน
เนื่องจากสงสารลูกจ้างที่ต้องถูกหักเงินเดือนและเกรงว่าลูกจ้างจะได้รับความลำบากจนต้องลาออกจากบริษัทไป
สำหรับใครที่ประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ ทางเพจตอบได้อย่างเดียวว่า อย่าหาเรื่องใส่ตัวโดยเด็ดขาด
เนื่องจากการฝ่าฝืนคำสั่งอายัดเงิน อาจทำให้นายจ้างเสี่ยงถึงขนาดต้องใช้หนี้ตามคำพิพากษาแทนลูกจ้างไปด้วย
หลายคนอาจไม่เชื่อว่ามันถึงขนาดนั้นเลยหรอ? เชื่อเถอะว่ามันถึงขนาดนั้นจริงๆ
ในทางปฏิบัตืเมื่อนายจ้างรับทราบคำสั่งอายัดเงินเดือนแล้ว
แต่หากนายจ้างสงสารยังอยากช่วยเหลือลูกจ้างโดยชำระเงินเดือนให้แก่ลูกหนี้ไปโดยฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานบังคับคดี
อันดับแรก นายจ้างจะไม่สามารถอ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดได้ว่าตนเองได้ชำระค่าจ้างให้กับลูกหนี้ไปแล้วได้เลย
รวมถึงนายจ้างยังมีหน้าที่ต้องชำระเงินตามคำสั่งอายัดของเจ้าพนักงานบังคับคดีอีกด้วย
เรียกว่านายจ้างอาจต้องจ่ายเงินออกทั้งสองทาง
นอกจากนี้แล้วหากนายจ้างยังไม่ยอมส่งเงินตามคำสั่งอายัด
เจ้าพนักงานบังคับคดีจะแจ้งให้เจ้าหนี้ทราบเพื่อให้เจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาล
เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายจ้างชำระหนี้ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดี
เสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาหรือชำระค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้ต่อไป
เมื่อถึงวันนัด หากศาลไต่สวนแล้วข้อเท็จจริงเชื่อได้ว่า นายจ้างไม่ยอมปฏิบัติตามคำสั่งจริง
ศาลจะมีคำสั่งให้นายจ้างชำระหนี้ตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีมีคำสั่งหรือให้นายจ้างชำระค่าสินไหมทดแทนตามแต่เห็นสมควร
และเมื่อศาลมีคำสั่งแล้ว ศาลจะออกคำบังคับให้นายจ้างชำระหนี้ภายในกำหนด
และสุดท้ายหากศาลออกคำบังคับแล้วนายจ้างยังดื้อแพ่งไม่ทำตามอีก
เจ้าหนี้จะยื่นคำขอให้ศาลบังคับเอากับบุคคลภายนอกเสมือนเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา
หลังจากจากนั้นเจ้าหนี้สามารถยึดอายัดทรัพย์สินของนายจ้างได้เสมือนนายจ้างเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเอง
เช่น อายัดเงินฝากของนายจ้างในบัญชีธนาคาร เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าหากนายจ้างไม่ยอมปฏิบัติตามและดื้อแพ่งไปเรื่อยๆ
นายจ้างอาจกลายเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาเหมือนกับพนักงาน รวมถึงอาจถูกบังคับคดีแทนลูกจ้างด้วย
ทีนี้ลูกจ้างก็ลอยตัวเลย มีคนมาจ่ายหนี้แทนตัวเองแล้ว
และหากนายจ้างอยากได้เงินคืน ก็ต้องไปฟ้องลูกหนี้แยกอีกคดีอีก วุ่นวายไปหมด
ดังนั้น ได้รับคำสั่ง/หมายอะไรมา แนะนำให้ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดดีกว่านะคะ
ฝากถึงลูกหนี้ต่างๆ ด้วยว่า “เป็นหนี้ก็ต้องจ่าย” นะคะ
เราเอาเงินเค้ามา เราก็ต้องใช้คืนให้ครบ จะได้ไม่มีปัญหานะคะ