ตกลงสละสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหาย ภายหลังเลิกจ้าง ใช้บังคับได้ “ไม่เป็นโมฆะ”
หลายคนเข้าใจผิดเพราะเคยได้ยินมาว่าแม้เซ็น สละสิทธิ์ไม่ติดใจฟ้องร้องแล้วก็ยังสามารถฟ้องร้องที่ศาลแรงงานได้… เรื่องนี้ไม่ได้มีคำตอบให้ตายตัวนะคะ ต้องดูจากหลายอย่างพิจารณาร่วมกันเพราะถ้าดูตามแนวคำพิพากษาฎีกาก็จะมีทั้งในกรณีที่เซ็นไปแล้วแต่ก็ยังฟ้องร้องได้กับในกรณีที่เซ็นไปแล้วก็ฟ้องร้องไม่ได้แล้ว
ซึ่งถ้าจะให้อธิบายสั้นๆฝ้ายจะสรุปแบบนี้ค่ะ
ในขั้นถ้าในขณะที่เซ็นยังมีฐานะเป็นนายจ้างลูกจ้างไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อมสภาวะความกลัวของจิตใจหรือแม้แต่ข้อถ้อยคำที่ใช้ในการเจรจาเพื่อให้ลงนามในสัญญาสละสิทธิ์เรียกร้องเงินค่าชดเชยหากเป็นเช่นนั้นกรณีที่ลูกจ้างจะไปฟ้องเรียกเงินชดเชยก็ยังทำได้อยู่แต่ลูกจ้างก็ต้องนำสืบให้ได้ว่าการเซ็นนั้นไม่ได้เต็มใจ
แต่ในกรณีกลับกัน ถ้าวันที่เซ็นนั้น พ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างแล้วไม่ได้อยู่ภายใต้การครอบงำไม่ได้อยู่ภายใต้คำสั่งไม่ได้อยู่ภายใต้การให้คุณให้โทษของนายจ้างแล้วเช่นนี้บันทึกนั้นก็สามารถบังคับได้ค่ะดูจากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/57
อันนี้ก็เป็นหลักการพิจารณาแบบกว้างๆนะคะถ้าอยากทราบโดยละเอียดลงเรียนได้ค่ะ เสาร์ที่ 4 มีนาคม ยังว่าง