กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานเตือนด้วยวาจาไม่ถือเป็นการเตือน เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

7 January 2023
เตือนด้วยวาจาไม่ถือเป็นการเตือน เลิกจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
ความเกรงใจเป็นสมบัติที่ดี แต่ใช่ให้ถูกที่ถูกเวลาจะลดปัญหาเยอะมากกก โดยเฉพาะในการทำงานร่วมกัน
ซึ่งกรณีที่จะนำมาเล่าในวันนี้ก็เกี่ยวกับความเกรงใจแต่เกรงใจเป็นพักๆพักแรกเกรงใจพักต่อมาอยากเลิกจ้างก็เลิกเลย กับกรณี นายจ้างเตือนลูกจ้างที่ทำความผิดเกี่ยวกับวินัยด้วยวาจาหลายครั้ง และไม่เคยออกเป็นหนังสือเลยเพราะรู้สึกว่าออกหนังสือมันรุนแรงไป เกรงใจ และรู้สึกว่าเตือนด้วยวาจาก็เพียงพอ แต่ลูกจ้างก็ยังทำซ้ำๆ จนในที่สุด นายจ้างทนไม่ไหว ขอเลิกจ้าง
จึงเป็นประเด็นว่า เมื่อลูกจ้างทำผิดจริง แต่นายจ้างไม่เคยเตือนเป็นหนังสือเลย เตือนด้วยวาจาตลอด แบบนี้เลิกจ้างได้หรือไม่??
มาดูหลักกฎหมายกัน
1. เมื่อลูกจ้างทำผิด นายจ้างต้องออกหนั่งสือเตือน และคนออกหนังสือจะต้องเป็นนายจ้างหรือตัวแทนที่มีอำนาจว่าจ้างหรือเลิกจ้างเท่านั้น
2.การเตือนต้องเป็นลายลักษณ์อักษร การเตือนด้วยวาจาไม่ว่าจะกี่ครั้งก็ตาม ก็ไม่ใช่ตักเตือนเป็นหนังสือ ไม่ถือเป็นการตักเตือนตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ที่จะมีผลทำ
ให้นายจ้างเลิกจ้างเพราะทำผิดซ้ำคำเตือนโดยไม่ต้องจ่ายค่าซดเซยได้ (อ้างอิงฎีกาที่ 2158/2557)
3.ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องออกหนังสือเตือนนั้น ต้องปรากฏว่าลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้าง “ในกรณีที่ร้ายแรง” นายจ้างไม่
ต้องตักเตือนโดยทำเป็นหนังสือ สามารถบอกเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย และ
มาตรา 119(4)
ดังนั้น ในการทำงานร่วมกันการติเพื่อ เตือนเพื่อเปลี่ยนแปลงย่อมทำให้อยู่ร่วมกันได้นานมากขึ้น ที่สำคัญการเตือนเป็นหนังสือ ไม่ได้ทำให้ความสัมพันธ์แย่ลงเสมอไป เราสามารถทำได้โดยไม่ทำลายน้ำใจ เพียงแต่เลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสม