กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานสัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา เมื่อสิ้นสุดแล้ว นายจ้างไม่ต่อสัญญา “ต้องจ่ายค่าชดเชย”

13 December 2022
สัญญาจ้างมีกำหนดระยะเวลา
เมื่อสิ้นสุดแล้ว นายจ้างไม่ต่อสัญญา “ต้องจ่ายค่าชดเชย”
ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่น่าสนใจนะคะ เพราะหลายบริษัท ใช้วิธีทำสัญญาจ้างปีต่อปี เมื่อครบปี ก็ ทำสัญญาต่ออีกฉบับนึง หรือบางบริษัท ก็ใช้วิธีการทำสัญญาแค่ 11 เดือนโดยเข้าใจว่าวิธีดังกล่าวจะไม่ต้องค่าชดเชย
ความเข้าใจแบบนี้ ทำให้เสียหายมาหลายบริษัทแล้ว เพราะ
1. หลายคน ตีความจากวรรคสามของมาตรา 118 ที่ว่า”..ค่าชดเชยในวรรคหนึ่ง มีให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้..” จึงใช้วิธีการทำสัญญาจ้างลูกจ้างเป็นแบบมีกำหนดระยะเวลาเพื่อหวังที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งแบบนี้ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะ ในวรรค 4 ของมาตราเดียวกันกำหนดว่า…..”การจ้างที่มีกำหนตระยะเวลาตามวรรคสามจะกระทำได้ สำหรับการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่ไม่ใช่งานปกติของกิจการ หรือการค้าของนายจ้างซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอนหรือในงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนต การสิ้นสุด หรือความสำเร็จของงาน หรือในงานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น ซึ่งงานนั้นจะต้อง แล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี… “
2.ดังนั้นหากลูกจ้างท่านใด ทำงานโดยเซ็นสัญญาเป็นพนักงานแบบมีกำหนดระยะเวลา ในกิจการที่เป็นไปเพื่อการประกอบธุรกิจปกติหรือทางการค้าของนายจ้าง เมื่อครบกำหนดสัญญาจ้าง ลูกจ้างจึงมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย
3.การกำหนดสัญญาจ้างเป็น 11 เดือนนั้นก็ไม่สามารถเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชยได้ เพราะค่าชดเชยจะเกิดขึ้นเมื่อลูกจ้างทำงานต่อเนื่องกันครบ 120 วันและถูกเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด ( ซึ่งการณีที่สัญญาสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิดเช่นกัน)
4.อย่างไรก็ตามสัญญาแบบมีกำหนดระยะเวลานี้นายจ้าง ไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า ก่อนครบกำหนดเพราะมีระยะเวลากำหนดแล้ว เช่นเดียวกันลูกจ้างก็ไม่ต้องแสดงเจตนาลาออกอีก ดังนั้น ค่าตกใจจึงถูกตัดออกไปในสัญญาประเภทนี้
5.ส่วนลูกจ้างที่ประสงค์ขอออกก่อนระยะเวลานั้นสิ้นสุดก็ไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย