กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานเงินจูงใจเป็นสวัสดิการที่ ไม่นำรวมเป็นฐานเงินเดือน ในการคำนวณค่าชดเชยได้หรือไม่ ?

2 December 2022
เงินจูงใจเป็นสวัสดิการที่ไม่นำรวมเป็นฐานเงินเดือนในการคำนวณค่าชดเชยได้หรือไม่ ?
เรื่องมีอยู่ว่า นายจ้างรายหนึ่งได้กำหนดเงินประเภท “เงินจูงใจ” ให้แก่ลูกจ้างที่มีความตั้งใจ ขยัน และมีความกะตือรือร้นในการปฏิบัติงาน โดยมีเงื่อนไขว่านายจ้างจะจ่ายเงินจูงใจตามเงื่อนไขดังนี้
– หากลูกจ้างไม่ลางาน/ไม่ขาดงาน ยกเว้นลาพักผ่อน
– หากลูกจ้างลางาน/ขาดงาน ยกเว้นลาพักผ่อน จำนวนเงินจูงใจจะถูกหักออกตามจำนวนวันที่ขาดงาน/ลางานจริง โดยให้เอา 30 วันเป็นตัวหาร
– หากลูกจ้างถูกลงโทษทางวินัยจะไม่ได้รับเงินจูงใจ
– ลูกจ้างจะได้รับเงินจูงใจเมื่อผ่านทดลองงานแล้ว (120 วัน)
– นายจ้างมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือยกเลิกเงินจูงใจได้ตามความเหมาะสม เป็นกรณีไป
ค่าชดเชยคำนวณจากค่าจ้างที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับเป็นเกณฑ์ โดยค่าจ้าง หมายถึง เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาทำงานปกติ และรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาที่ลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย
เมื่อพิจารณาจากเงื่อนไขการจ่ายเงินจูงใจดังกล่าวแล้วพบว่า นายจ้างตั้งเงื่อนไขการจ่ายเงินจูงใจให้แก่ลูกจ้างที่มีความตั้งใจ ขยัน และมีความกะตือรือร้นในการปฏิบัติงาน ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดเท่านั้น รวมถึงเงินจูงใจที่นายจ้างจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของลูกจ้างเท่านั้น
ดังนั้นจึงไม่ถือว่า “เงินจูงใจ” เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงาน จึงไม่ถือว่าเป็นค่าจ้าง และไม่ต้องนำเงินจูงใจมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชย
ในช่วงหลังๆ มานี้พบว่า นายจ้างมีการออกแบบรูปแบบการจ่ายเงินเพิ่มเติมที่หลากหลายให้แก่ลูกจ้าง ก่อให้เกิดความสับสนว่าจะนำเงินจำนวนใดบ้างมาคำนวณค่าชดเชยบ้าง ทางเพจขอบอกไว้เลยว่า แม้แต่ละบริษัทจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป แต่หลักเกณฑ์การพิจารณายังคงเหมือนเดิม คือ เงินที่จ่ายให้แก่ลูกจ้างดังกล่าวนั้น เป็นเงินที่จ่ายเพื่อเพื่อตอบแทนการทำงาน หรือเป็นเงินที่จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์อื่น
(เทียบเคียงฎีกา 3728/2524 และหนังสือกองนิติการที่ รง0504/0913 ลว. 1 กรกฎาคม 2554)