คดีแรงงานต้องอุทธรณ์ภายใน 15 วันนับแต่วันอ่านคำพิพากษา!!
บางคนอ่านหัวข้อมาแล้วถึงกับตกใจเพราะเคยเจอมากับตัวเอง ว่าอีกฝั่งที่ไม่พอใจพิพากษาก็สามารถอุทธรณ์ได้แม้ผลกำหนดระยะเวลา 15 วัน ไปแล้วทำไมถึงทำได้ ??
ที่ทำได้ก็เพราะว่าฝ่ายที่ไม่พอใจในผลคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็มีสิทธิ์ที่จะขยายระยะเวลาออกไปและศาลจะเป็นผู้ใช้ดุลพินิจในการขยายระยะเวลาดังกล่าวให้ขยายได้กี่วัน
อย่างไรก็ดีหลักเกณฑ์ในการอุทธรณ์ใช่ว่าจะอุทธรณ์ได้ทุกเรื่อง โดย “อุทธรณ์ได้เฉพาะข้อกฎหมายเท่านั้น” และ “ไม่ให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง”
โดยการห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง หมายถึงห้ามอุทธรณ์ในปัญหาดังต่อไปนี้
1. อุทธรณ์อ้างข้อเท็จจริงใหม่ ที่เพิ่มเติมนอกเหนือจากที่ศาลแรงงานรับฟังมา
2. อุทธรณ์ดุลพินิจในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตของศาลแรงงาน
3. อุทธรณ์ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงาน
ส่วนปัญหาข้อกฎหมาย หมายถึงปัญหาดังต่อไปนี้
1. อุทธรณ์การปรับบทกฎหมายหรือเอกสาร
2. อุทธรณ์การตีความ แปลความกฎหมายหรือเอกสาร
ดังนั้น ในบางคดีที่จ้างเป็นผู้ชนะคดีในศาลแรงงานชั้นต้นแต่ยังรู้สึกไม่พอใจในค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมที่ศาลกำหนดมาให้ และต้องการอุทธรณ์ขอให้ศาลช่วยพิจารณาใหม่โดยกำหนดให้สูงขึ้นจึงเป็นการอุทธรณ์ในดุลย์พินิจการกำหนดค่าเสียหายของศาลซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
และหากมีทะแนะคนไหนยุว่า ไม่พอใจในการไม่เป็นธรรมที่ศาลกำหนดมาให้ก็อุทธรณ์ได้เดี๋ยวเขียนให้ ให้รู้ไว้เลยว่ามั่ว ไม่ต้องไปเสียเงินให้เขาฟรีๆนะ
ส่วนถ้าใครมองหาทนายน่ารัก วางใจได้ ติดต่อ
Info@legaclinic.co.th