กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานหากลูกจ้างถูกเลิกจ้าง เงินค่าคอมมิชชัน ต้องนำมาเป็นฐานคำนวณรวมเป็นค่าชดเชยหรือไม่??

17 October 2022
หากลูกจ้างถูกเลิกจ้าง เงินค่าคอมมิชชัน ต้องนำมาเป็นฐานคำนวณรวมเป็นค่าชดเชยหรือไม่??
คำถามนี้คลินิกกฎหมายแรงงานมีคำตอบค่ะ โดยคำตอบคืออออ ต้องนำมาคำนวณรวมเป็นเงินค่าชดเชยด้วย เพราะตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.118 กำหนดไว้ว่า ให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งถูกเลิกจ้างโดยให้จ่ายไม่น้อยกว่า “ค่าจ้างอัตราสุดท้าย” ซึ่ง “ค่าจ้าง” ตามกฎหมาย หมายถึง ค่าตอบแทนในการทำงานตามสัญญาจ้าง หรือ ตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ ซึ่งเงินค่าคอมมิชชัน ที่ตกลงจ่ายเป็นค่าตอบแทนโดยคำนวณจากยอดขายที่ลูกจ้างสามารถขายได้ จะได้รับมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับจำนวนยอดขายที่ลูกจ้างขายได้ จึงถือได้ว่าเป็นเงินค่าตอบแทนในการทำงาน อันเป็นเงินค่าจ้าง ที่ต้องนำมาคำนวณรวมเป็นค่าชดเชย
เทียบเคียงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษ ที่ 340/2561 นายจ้างประกอบกิจการนำเที่ยว ตกลงจ่ายเงินตอบแทนให้ลูกจ้างตามผลงานโดยคำนวณตามจำนวนลูกค้าในอัตรา 7 บาท ต่อลูกค้า 1 คน ในแต่ละเดือน และอีกร้อยละ 3 ของเงินจำนวนร้อยละ 1 ของค่านายหน้าที่ร้านค้าส่งให้แก่นายจ้าง แม้จะเป็นการจูงใจให้ลูกจ้างเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน แต่ก็เป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างโดยคำนวณจากฐานจำนวนลูกค้าและค่านายหน้าที่ร้านค้าส่งให้ในอัตราส่วนแน่นอน มีกำหนดจ่ายทุกเดือน “ค่าตอบแทนตามผลงาน ” จึงเป็นค่าจ้างตามมาตรา 5 ซึ่งต้องนำมาคิดคำนวณค่าชดเชย
แต่ถ้าเป็นเงินอันเป็นลักษณะเงินรางวัล จูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้ได้ตามเป้าที่กำหนด เช่น กำหนดว่าหากทำยอดขายได้ตามเป้า 1-5 ล้าน ได้ 10 % , 6 – 10 ล้าน ได้ 15 % เงินที่ได้ดังกล่าวจะไม่ใช่ค่าจ้าง และไม่สามารถนำมารวมเป็นฐานในการคำนวณค่าเชยได้
เทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3733/2560 ค่าคอมมิชชัน เป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานขายโดยคำนวณให้ตามผลงานที่พนักงานทำยอดขายได้ตามเป้าหมายที่จำเลยกำหนดเป็นรายปี อันเป็นการจ่ายเพื่อจูงใจให้พนักงานขายทำยอดขายเพิ่มขึ้น “ค่าคอมมิชชั่น” จึงไมใช่ค่าจ้างนะคะ