กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานพนักงานตรวจแรงงาน มีสิทธิ์สั่ง “จ่ายเงิน” อะไรบ้าง ?

16 October 2022
ฮัลโหลวันอาทิตย์แค่คิดว่าพรุ่งนี้วันจันทร์ก็อยากหลับตาต่อละ อยากนึกว่าฝันไปวันนี้เป็นวันอาทิตย์
เข้าเรื่องที่เป็นประโยชน์ จากคำถามตามภาพว่า พนักงานตรวจแรงงานมีสิทธิ์สั่งจ่ายเงินอะไรบ้างมาอ่านกันนะคะ
พนักงานตรวจแรงงานพนักงานตรวจแรงงานเป็นบุคคลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ที่มีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน หากนายจ้างหรือลูกจ้างฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจออกคำสั่งให้นายจ้างและลูกจ้างปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมีอำนาจหน้าที่สอบสวนและมีคำสั่งกรณีที่นายจ้างไม่จ่ายเงิน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ซึ่งเงินที่พนักงานตรวจฯ มีอำนาจสอบสวนและมีคำสั่งได้แก่
1. ค่าจ้าง ตามมาตรา 5
2. ดอกเบี้ย เงินเพิ่ม ตามมาตรา 9
3. เงินประกันการทำงาน ตามมาตรา 100
4. สินจ้างหรือค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 17
5. ค่าล่วงเวลา ตามมาตรา 61
6. คำทำงานในวันหยุด ตามมาตรา 62
7. ค่าล่วงเวลาในวันหยุด ตามมาตรา 63
8. ค่าตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติ ตามมาตรา 65
9. ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามมาตรา 67
10. เงินระหว่างพนักงานตรวจแรงานสั่งหยุดใช้เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ตามมาตรา 75
11. เงินระหว่างพักงานเพื่อสอบสวนความผิดตามมาตรา 116
12. ค่าชดเชย ตามมาตรา 118
13. คำชดเชยพิเศษเนื่องจากการย้ายกิจการ ดามมาตรา 120
14. ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ตามมาตรา 120 และ 121
15. ค่าชดเชยพิเศษเนื่องจากการนำเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีมาใช้ ตามมาตรา 122
คำพิพากษาฎีกาที่ ๙๓๒๓-๙๙๗๖/๒๕๔๗ ลูกจ้างยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานอ้างว่านายจ้างไม่จ่ายเบี้ยขยัน เงินเบี้ยขยันนี้เป็นเงินที่นายจ้างนำมาจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการตอบแทนความขยัน ไม่ใช่ตอบแทนการทำงาน ไม่ใช่ค่าจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาดรา 5 จึงไม่ใช่เงินอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานไม่มีอำนาจสอบสวนและมีคำสั่งตามมาตรา 124
ข้อสังเกต
1. ลูกจ้างจะขอให้พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและมีคำสั่งได้แต่เฉพาะกรณีที่ตนถูกนายจ้างโต้แย้งสิทธิในเรื่องเงินที่มีการบัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 เท่านั้น
2. หากเป็นเรื่องที่ไม่ใช่เงิน เช่น การแต่งตั้งโยกย้าย การเปลี่ยนสถานที่วันเวลาทำงาน หรือเปลี่ยนระบบวิธีการทำงาน ฯลฯ ทำให้ลูกจ้างได้รับความเดือดร้อน ลูกจ้างจะใช้ช่องทางนี้ให้พนักงานตรวจแรงงานสอบสวนและวินิจฉัยไม่ได้ เพราะไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับเงิน ต้องใช้สิทธิทางศาล
3.แม้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเงิน แต่ไม่ใช่เงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ เช่น เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพซึ่งเป็นเงินตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 เงินสะสมเมื่อออกจากงานตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 49 ฯลฯ ก็ไม่ใช่เงินที่พนักงานตรวจแรงงานจะมีอำนาจสอบสวนและมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเช่นกัน
เมื่อมีข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวต้องใช้สิทธิทางศาล