กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฏหมายแรงงานพนักงานส่งพัสดุเอกชน นายจ้างให้ทำงานเกินวันละ 8 ชม. ได้หรือไม่ ?

14 October 2022
เรื่องมีอยู่ว่า ลูกจ้างทำงานขับรถส่งพัสดุของเอกชนรายหนึ่ง อินบ๊อกมาสอบถามว่า ในสัญญากำหนดเวลาทำงานวันหนึ่งไว้ไม่เกิน 8 ชม แต่ในการปฏิบัติงานจริง ๆ แล้วลูกจ้างต้องทำงานจนถึง 20.00 น. ซึ่งเกินวันละ 8 ชม. จึงถามว่าาาา
1. นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้หรือไม่?
กับคำถามนี้ คลินิกกฎหมายแรงงานเห็นว่านายจ้างสามารถให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้ ถ้าหากในการส่งของพัสดุนั้นเป็นเหตุจำเป็นอันเนื่องมาจากการจราจร หรือ อุบัติเหตุ หรือเหตุสุดวิสัย ซึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ออกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ข้อ 3 กำหนดไว้ว่า หากลูกจ้างไม่ยินยอมทำงานล่วงเวลา นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่ได้ เว้นแต่ จะมีความจำเป็นจากเหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุหรือปัญหาจราจร
2. หากนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาก็ต้องจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินให้กับลูกจ้าง โดยจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ เว้นแต่ นายจ้างจะตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด ก็จ่ายให้ตามที่ตกลง
อ้างอิงข้อมูล กฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ออกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
งานขนส่งพัสดุ ถือเป็น “งานขนส่งทางบก” ที่ต้องบังคับตามกฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ออกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
ข้อ 2 ให้นายจ้างกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้าง ในงานขนส่งทางบกวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง
ข้อ 3 ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับขี่ยานพาหนะทำงานล่วงเวลา เว้นแต่ จะได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากลูกจ้าง ในกรณีที่ได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง นายจ้างอาจให้ลูกจ้าง ทำงานล่วงเวลา ได้วันหนึ่งไม่เกิน 2 ชั่วโมง เว้นแต่มีความจำเป็นอันเกิดจากเหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุหรือปัญหาจราจร
ข้อ 6 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างในงานขนส่งทางบกทำงานล่วงเวลา ในวันทำงานหรือทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ เว้นแต่นายจ้างตกลงจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างดังกล่าว
หวังว่าจะหายค้างคาใจกับคำถามนะคะ พี่เชื่อว่าหลายหลายบริษัทก็ไม่ได้ทำตามกฏหมายแรงงานเมื่อลูกจ้างได้ทราบสิทธิและหน้าที่ของตนเองแล้วก็อาจจะเกิดคำถามว่า ทำไมบริษัทไม่ปฏิบัติตามกฏหมาย
อันนี้มันไม่ใช่แค่เรื่องของกฎหมายอย่างเดียวนะ ต้องบอกว่ามันเป็นเรื่องของสภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคมอำนาจการต่อรอง เกี่ยวทั้งหมด ดังนั้น ใครรู้สึกว่าตัวเองถูกเอาเปรียบมากๆก็ลองเพิ่มทักษะในการทำงานของตัวเองดูระหว่างนี้ก็หางานใหม่หรือรายได้เสริมไปด้วย เพื่อเพิ่มตัวเลือกให้ชีวิตค่ะ