กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานShopee ปลดพนักงานจำนวนมาก คาดเกิน 100 ราย

29 September 2022
จากข่าวเพจคุณสรยุทธ กรณี Shopee ประเทศไทย ปลดพนักงานจำนวนมาก คาดหลักร้อยรายมีรายงานว่า Shopee กำลังปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ทั่วทั้งภูมิภาคโดยหนึ่งในนั้น คือ Shopee ประเทศไทยที่ปรับโครงสร้างให้องค์กรมีความคล่องตัว และสามารถสร้างการเติบโตในระยะยาวด้วยตัวเอง ในบริษัทมีการทาวน์ฮอลล์พนักงาน เพื่อชี้แจงถึงการปรับแผนดำเนินงานของ Shopee ซึ่งจะมีผลกระทบกับพนักงานบางส่วน รวมถึงในไทย โดยจะปรับลดพนักงานลงคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ตัวเลขหลักเดียว (ไม่ถึง 10 % ซึ่งมีการให้เหตุผลว่าเพื่อให้ Shopee เดินต่อไปได้จากการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพขึ้น
วันนี้ผู้เขียนจึงจะพาไปทราบถึงการถูกเลิกจ้างเพราะเหตุปรับโครงสร้าง ว่าลูกจ้างมีสิทธิได้อะไรบ้าง
1.ค่าชดเชย ตาม พ.ร.บ.ม.118
2.ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ม.17 (หากนายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้อง)
3. ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนตามส่วนในปีที่เลิกจ้าง
4.ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนสะสม (ถ้ามี)
5. เงินอื่น ๆ ถ้ามี เช่น เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
6. เงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
​สำหรับประเด็นเรื่องเลิกจ้างเพราะเหตุปรับโครงสร้างนั้น ถ้าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายได้ แล้วอย่างไรที่จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม ศาลได้กำหนดแนวบรรทัดฐานไว้ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนี้
กรณีเลิกจ้างเป็นธรรม
-การปรับองค์กรโดยลดจำนวนลูกจ้าง จะต้องมาจากเหตุขาดทุนและจะต้องถึงขนาดที่จะไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ และการปรับลดจำนวนลูกจ้างนั้นจะต้องเป็นผลโดยตรงที่ช่วยให้กิจการของนายจ้างอยู่รอดหรือดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ฎีกา 4753-4760/2546
-กรณีที่นายจ้างยุบตำแหน่งบางตำแหน่งลง หรือยุบแผนกอันเนื่องมาจากการปรับโครงสร้าง จึงจำต้องเลิกจ้างลูกจ้าง ถือเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
-การใช้สิทธิเลิกจ้างด้วยเหตุปรับโครงสร้าง นายจ้างจะต้องมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกลูกจ้างที่ไม่เลือกปฏิบัติ มีเหตุผลและเป็นธรรม
– ก่อนที่จะเลิกจ้าง นายจ้างควรที่จะหามาตรการที่เหมาะสมและเป็นธรรมมาแก้ปัญหาก่อน เช่น ลดวัน ชั่วโมงการทำงาน ลดค่าล่วงทำงานล่วงเวลา เป็นต้น
​กรณีเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
-การขาดทุนกำไร หรือการที่นายจ้างมีกำไรมาตลอด มีกำไรสะสม แม้ปีต่อมา นายจ้างจะขาดทุนอยู่บ้าง ก็ยังไม่เพียงพอที่จะอ้างเป็นเหตุเลิกจ้างลูกจ้างได้ ฎีกา 1850/2547