กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฎหมายครอบครัวกฎหมายลิขสิทธิ์กฎหมายอาญากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ภรรยาเซ็นค้ำประกัน แต่ทำไมธนาคารยึดบ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสามีแทน

23 September 2022
ภรรยาเซ็นค้ำประกัน แต่ทำไมธนาคารยึดบ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสามีแทน???
อุทธาหรณ์การค้ำประกันวันนี้ เนื่องจากมีลูกความร้อนใจปรึกษาว่า จู่ๆ พอสามีกลับไปถึงบ้านก็จอหมายยึดทรัพย์แขวนอยู่หน้าบ้าน โดยระบุว่าบ้านโดนยึดขายทอดตลาด สามีก็งงเลยสิคะเพราะหนี้ค่าบ้านทุกวันนี้ก็จ่ายปกติ แถมตัวเองก็ไม่เคยไปมีหนี้ที่อื่นหรือค้ำประกันใครที่ไหน ทำไมอยู่ดีๆ บ้านโดนยึดได้
ไปๆ มาๆ พอมาดูเอกสารดีๆ ปรากฏว่า ต้นตอมาจากคดีที่ภรรยาถูกธนาคารฟ้องเป็นจำเลยร่วมในฐานะผู้ค้ำประกัน ซึ่งตัวภรรยาเองยังคงมีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดทำให้ตัวเองไม่เคยรู้ว่าถูกฟ้องเป็นคดีมาก่อน มารู้อีกทีคือ ลูกหนี้ขาดนัดพิจารณา แพ้คดี แถมตัวลูกหนี้เองก็ไม่มีทรัพย์สินให้ยึด จนสุดท้ายธนาคารต้องมาตามยึดทรัพย์ของผู้ค้ำประกันแทน แถมเคราะห์ซ้ำกรรมซัดก็คือ บ้านที่ยึดดันไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของภรรยา แต่ดันเป็นของสามีอีก
จากข้อเท็จจริงดังกล่าวลูกความเลยสงสัยมากว่า ในเมื่อบ้านเป็นชื่อของสามี ไม่ใช่ชื่อภรรยา แต่ทำไมธนาคารสามารถกลับยึดบ้านของสามีได้ด้วยล่ะ? วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกันค่ะ
แม้ว่าบ้านหลังดังกล่าวจะไม่ใช่เป็นกรรมสิทธิ์ของภรรยาก็ตาม แต่บ้านหลังดังกล่าวถือเป็นสินสมรสตามมาตรา 1474 (1) (เฉพาะกรณีที่ได้บ้านหลังดังกล่าวมาในระหว่างสมรส) ประกอบกับมาตรา 1499 (2) ที่ได้กำหนดให้หนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันนั้น รวมถึงหนี้ใดๆที่สามีหรือภริยาก่อให้เกิดขึ้นในระหว่างสมรสด้วย
ด้วยเหตุดังกล่าว เมื่อหนี้ค้ำประกันเกิดในระหว่างสมรสจึงถือว่าสามีภริยาเป็นหนี้ร่วมกัน เมื่อภริยาแพ้คดีและตกเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาแล้ว ธนาคารในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจึงสามารถนำยึดบ้านที่เป็นกรรมสิทธิ์ของสามีในฐานะสินสมรสได้
ดังนั้นก่อนเซ็นค้ำประกันให้ใคร อย่าลืมดูเครดิตลูกหนี้ให้ดีด้วยนะคะ มิเช่นนั้นอาจเป็นปัญหาครอบครัวได้ (แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดอย่าเซ็นค้ำประกันให้ใครดีกว่าค่า❤️)