กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายกฎหมายครอบครัวกฎหมายลิขสิทธิ์กฎหมายลิขสิทธิ์จะคุ้มครองความคิดก็ต่อเมื่อ มีการแสดงออกของความคิดแล้วเท่านั้น

23 September 2022
ในการคุ้มครองลิขสิทธิ์งาน หรือจะฟ้องลิขสิทธิ์จากใครก็จะต้องพิจารณาก่อนว่างานนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือไม่ ซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ จะต้องประกอบไปด้วยสี่หลักเกณฑ์ก็คือ
1. มีการแสดงออกของความคิด
2. สร้างสรรงานด้วยตนเอง
3. เป็นงานที่ประเภทกฎหมายรับรองและ
4. เป็นงานที่ไม่ขัดกับกฎหมาย
ตั้งแต่ให้คำปรึกษามาเห็นว่าเรื่องที่เป็นปัญหามากที่สุดก็คงหนีไม่พ้นเรื่องของการนำเอาไอเดียของเพื่อนไปทคนที่ออกไอเดียก็อยากจะฟ้อง เรื่องลิขสิทธิ์จึงเป็นที่น่าพิจารณาว่าเรื่องนี้สามารถฟ้องได้หรือไม่ อย่างไร
ถ้าจะพูดตามหลักกฏหมาย กฏหมายลิขสิทธิ์ไม่คุ้มครองความคิด (idea) แต่คุ้มครองการแสดงออกซึ่งความคิด (expression od idea) ดังที่ปรากฏไว้ในมาตรา 6 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ 2537 ที่วางหลักไว้ว่า …. “การคุ้มครองลิขสิทธิ์ไม่คุ้มถึงความคิด หรือขั้นตอนกรรมวิธี หรือระบบ หรือวิธีใช้หรือทำงาน หรือแนวความคิด หลักการการค้นพบหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ซึ่งต่างจากหลักการของสิทธิบัตรที่คุ้มครองความคิดที่แสดงถึงขั้นตอนการผลิต**
ถ้าใครยังนึกภาพไม่ออกที่บอกว่ากฎหมายไม่คุ้มครองไอเดียแต่คุ้มครองไอเดียที่ถูกแสดงออกมาแล้ว จะยกตัวอย่างให้ฟัง นางสาวฟ้าใสคิดพลอตเรื่องละครเรื่องหนึ่งไว้ในหัวแต่ยังไม่ได้เขียนและไม่ได้ถ่ายทอดงานนั้นออกมา ในกรณีนี้ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองทางลิขสิทธิ์ค่ะ แม้ต่อมาถ้ามีนางสาวฟ้าหม่นมาเขียนละครแบบเดียวกับที่นางสาวฟ้าใสคิดเอาไว้ ก็จะถือไม่ได้ว่านางสาวฟ้าหม่นละเมิดลิขสิทธิ์ของนางสาวฟ้าใสเพราะความคิดหรือไอเดียดังกล่าวยังไม่ได้ถ่ายทอดรายละเอียดของงานที่มีลักษณะเฉพาะแต่เป็นเพียงโครงเรื่องทั่วๆไป
อ่านมาถึงตรงนี้อย่าคิดว่ากฎหมายไม่เป็นธรรมนะคะใครที่มีปัญหาแนวแนวนี้หรือกลัวจะมีปัญหาแนวแนวนี้วิธีทางออกก็คือคิดแล้วลงมือทำเลยหรือยังไม่ต้องแชร์ไอเดียฤหัสอยากจะแชร์ก็แชร์ด้วยความระมัดระวังเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวค่ะ
(อ้างอิงหนังสือ หลักกฏหมายลิขสิทธิ์ : ณัฐกฤตา ลีลาประเทือง)