วันนี้จะมาพูดถึงกรณี “การหมั้น”
หลายคนเข้าใจผิดว่าเมื่อมันแล้วของมันก็ตกเป็นสินส่วนตัวของฝ่ายหญิง เพราะฝ่ายชายนำมาให้
ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่ เพราะของหมั้นนั้นจะตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันทีที่หมั้นกัน แต่ตกเป็นส่วนตัวของหญิงเมื่อแต่งงานแล้ว
อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการหมั้นกันแล้วการสมรสไม่ได้จึงเกิดขึ้นคำถามว่าต้องคืนของหมั้นเขาหรือไม่ เรื่องที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเด็นดังนี้ค่ะ
กรณีที่ 1 : ชายคู่หมั้น บอกเลิกสัญญา ไม่ต่งไม่แต่งมันแล้ว เพราะมีเหตุทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิงนั้น เช่น หญิงมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม มีคนอื่นชายมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และให้หญิงคืนของหมั้นแก่ชาย มาตรา 1442
กรณีที่ 2 : หญิงคู่หมั้นเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาหมั้น ฃ
เพราะชายคู่หมั้น ทำให้หญิงไม่สมควรสมรสกับชายนั้น หญิงมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ชาย มาตรา 1443
กรณีที่ 3 : ทั้งสองฝ่ายตกลงยกเลิกการหมั้น ในกรณีนี้ต้องคืนของหมั้น เว้นแต่ฝ่ายชายจะตกลงว่าไม่ต้องคืน
กรณี 4: คู่หมั้นเสียชีวิต กรณีนี้ไม่ใช่ความผิดของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดฝ่ายหญิงไม่ต้องของหมั้น มาตรา 1441
ส่วนวิธีการคืนของหมั้นนั้น ก็แบ่งได้เป็นหลายกรณีทรัพย์สินให้ไว้เป็นการคืนของหมั้นมีวิธีการคืน ดังนี้
1. ถ้าเป็นเงิน คืนเพียงส่วนที่เหลืออยู่ในขณะเรียกคืน แต่หากนำไปซื้อทรัพย์สินอื่น ต้องนำทรัพย์นั้นคืนให้ฝ่ายชาย เพราะเป็นการช่วงทรัพย์
2.ถ้าไม่ใช่เงิน คืนตามสภาพในขณะเรียกคืน อีกทั้งไม่ต้องรับผิดชอบกรณีสูญหายด้วย
อย่างไรก็ตามอายุความเรียกคืนของหมั้นก็มีอยู่นะ ไม่ใช่ปล่อยผ่านมานาน จะจะเรียกคืนเมื่อไหร่ก็ได้ โดยการเรียกคืนของหมั้น มีอายุความ 6 เดือนนับแต่วันที่ผิดสัญญาหมั้น ตามมาตรา 1447/2