กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานลูกจ้างรายวัน “ลาป่วย ” นายจ้างหักค่าจ้างไม่ได้ !!!

20 September 2022
นายไม่ทราบโปรดทราบ ลูกจ้างรายวันลาป่วย นายจ้างหักเงินค่าจ้างในวันลาป่วยไม่ได้ เพราะการลาป่วย ลูกจ้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างรายเดือน มีสิทธิลาป่วยได้ เท่าที่ป่วยจริง ซึ่งลูกจ้างรายวัน นายจ้างจะมีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้าง เฉพาะวันหยุดประจำสัปดาห์เท่านั้น ทั้งนี้ ตาม ม. 56(1)
หากกล่าวถึงการลาป่วย พนักงานจะลาป่วยกี่วันก็ได้ ตามที่ป่วยจริง แต่จะมีสิทธิได้รับเงินระหว่างลาป่วยได้ปีหนึ่งไม่เกิน 30 วัน เท่านั้น ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม .57
ดังนั้นกับคำถามที่ว่า ลูกจ้างรายวันลาป่วย นายจ้างหักเงินได้หรือไม่?
คำตอบคือ……หักเงินค่าจ้างในวันลาป่วยไม่ได้ เพราะการลาป่วย ลูกจ้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างรายเดือน มีสิทธิลาป่วยได้ เท่าที่ป่วยจริง ซึ่งลูกจ้างรายวัน นายจ้างจะมีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้าง เฉพาะวันหยุดประจำสัปดาห์เท่านั้น ทั้งนี้ ตาม ม. 56(1)
2.หากนายจ้างหักเงินค่าจ้างในวันลาป่วย นายจ้างมีความผิดตาม ม.146 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท
3.ลูกจ้างมีสิทธิยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานหรือยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน เพื่อบังคับให้นายจ้างจ่ายคืนเงินค่าจ้างสำหรับวันลาป่วยได้
4.หากลูกจ้างลาป่วยเท็จ แต่รับค่าจ้างวันลาป่วย ทั้งที่รู้ว่าตนไม่มีสิทธิได้รับ ถือเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการลาป่วยเท็จเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและเป็นการเลิกจ้างที่เป็นธรรม
ฎีกาที่ 2125/2530 โจทก์เป็นลูกจ้างรายวันของจำเลย วันไหนไม่ไปทำงานก็ไม่ได้ค่าจ้าง โจทก์ไม่ได้ไปทำงาน 1 วันโดยลาป่วยเท็จ แต่รับค่าจ้างของวันที่ตน ลาป่วยเท็จนั้นทั้งที่รู้ว่าไม่มีสิทธิจะได้รับ ดังนั้นการกระทำของโจทก์เป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบจากการลาป่วยเท็จอันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่ ฝ่าฝืนต่อกฎระเบียบและคำสั่งของผู้บังคับบัญชา และจงใจเป็นเหตุให้จำเลยเสียหายอย่างร้ายแรงเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงหาใช่เป็นการแจ้งเท็จหรือรายงานเท็จต่อผู้บังคับบัญชาเพียงประการเดียวซึ่งมีโทษตัดค่าจ้างตามระเบียบของจำเลยเท่านั้นไม่ การที่จำเลยไล่โจทก์ออกจากงานจึงชอบด้วยข้อบังคับที่ให้อำนาจจำเลยไล่ลูกจ้างที่กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงออกจากงานไปแล้ว มิใช่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและเมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเช่นนี้จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่จำต้องตักเตือนก่อนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์.