เพื่อนนนน ถ้าเพื่อนรู้สึกโมโห ไม่ว่าจะเป็นการทะเลาะกับเพื่อนร่วมงาน น้อยใจนายจ้างจนไม่อยากจะทำงานต่อไป จึงตัดสินใจพิมพ์ลงไปในกลุ่ม Line เพื่อขอลาออก ผ่านไป 30 นาที ใจเย็นขึ้นมาไม่คิดจะลาออกล่ะ จึงไปยกเลิกข้อความ ดังนี้จะถือได้ว่า การลาออก มีผลหรือไม่อย่างไร อ่านนะ
1.หากลูกจ้างได้แสดงเจนาขอลาออกแล้ว แม้ต่อมาเปลี่ยนใจไปกดยกเลิก ถือได้ว่ามีผลเป็นการลาออก เพราะเมื่อแสดงเจตนาเลิกสัญญาแล้ว จะถอนการแสดงเจตนาไม่ได้ ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. ม.386 ดังนั้น เมื่อลูกจ้างลาออกเองก็จะไม่มีสิทธิได้ค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6525/2544 วินิจฉัยไว้เป็นบรรทัดฐานว่า สัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาชนิดหนึ่ง เมื่อนายจ้างซึ่งเป็นคู่สัญญาแสดงเจตนาเลิกสัญญาแก่ลูกจ้างโดยการเลิกจ้างแล้ว สัญญาจ้างแรงงานย่อมสิ้นสุดลงทันที และ การแสดงเจตนาเลิกสัญญาหาอาจถอนได้ไม่
2. เว้นแต่ หากนายจ้างและลูกจ้างตกลงยกเลิกและยินยอมให้ลูกจ้างยกเลิกเพิกถอนการแสดงเจตนา ก็สามารถทำได้
คำพิพากษาฎีกาที่ 13145/2558 แม้ตาม ป.พ.พ. ม 386 ประกอบ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ฯ ม.17 ลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยแสดงเจตนาแก่นายจ้าง และเมื่อแสดงเจตนาดังกล่าวแล้วไม่อาจถอนหรือยกเลิกเจตนานั้นได้ก็ตาม แต่กรณีดังกล่าวหมายถึงลูกจ้างแสดงเจตนาเพียงฝ่ายเดียวขอถอนหรือยกเลิกการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างเท่านั้น ไม่รวมถึงการตกลงหรือยินยอมพร้อมใจของฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเพื่อยกเลิกหรือถอนการแสดงเจตนาของลูกจ้างที่ขอเลิกสัญญาจ้างแต่อย่างใด เมื่อลูกจ้างขอลาออกโดยให้มีผล 30 วันข้างหน้า ต่อมานายจ้างและลูกจ้างปรับความเข้าใจกันได้แล้ว และทั้งสองฝ่ายตกลงยกเลิกและยินยอมให้ถอนการแสดงเจตนาลาออกของลูกจ้าง กรณีจึงทำให้การลาออกของลูกจ้างถูกถอนไปแล้ว กรณีเช่นนี้หาขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวไม่
#นายจ้างก็เช่นกัน เกิดรมบ่อจอย ไล่ออกมาทาง LINE วันต่อมาจะบอกว่าล้อเล่นก็ไม่ได้เหมือนกันนะคะ และสลายออกโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิดก็เตรียมจ่ายค่าชดเชยไว้ด้วย