กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานพนักงานขับรถเริ่มงาน 8 โมงแต่ต้องขับรถไปบ้านผู้บริหารตั้งแต่ 7 โมงแบบนี้ต้องมีค่าล่วงเวลาหรือไม่ ?

6 September 2022
พนักงานขับรถเริ่มงาน 8 โมงแต่ต้องขับรถไปบ้านผู้บริหารตั้งแต่ 7 โมงแบบนี้ต้องมีค่าล่วงเวลาหรือไม่??
สำหรับคำถามนี้ขอตอบว่า “ตำแหน่ง พนักงานขับรถ หากนายจ้างให้ทำงานล่วงเวลาและลูกจ้างยินยอมทำ ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่ลูกจ้างจะมีสิทธิได้รับค่าจ้างเท่ากับจำนวนชั่วโมงที่ทำ”
ทั้งนี้ ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) ที่ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
​​
ซึ่งจากคำถามดังกล่าว นายจ้างกำหนดเวลาเริ่มต้นในการทำงานตั้งแต่เวลา 8.00 นาฬิกา แต่ลูกจ้างเริ่มทำงานโดยต้องออกไปรับผู้บริหาร ตั้งแต่เวลา 7.00 ชั่วโมง ดังนี้ ถือได้ว่า นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา ที่นายจ้างต้องจ่าย “เงินค่าตอบแทนตามชั่วโมงที่ลูกจ้าง” (ไม่ใช่ค่าล่วงเวลา เว้นแต่ นายจ้างจะจ่ายเป็นค่าล่วงเวลาให้ก็สามารถทำได้)
​​โดยสาระสำคัญของ กฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2541) มีดังนี้
1.นายจ้างต้องกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกวันหนึ่งต้องไม่เกิด 8 ชั่วโมง
2.ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง หากลูกจ้างยินยอมนายจ้างอ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้วันหนึ่งไม่เกิน 2 ชม. เว้นแต่มีความจำเป็นอันเกิดจากเหตุสุดวิสัย อุบัติเหตุ หรือปัญหาการจราจร
3.ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างในงานขนส่งทางบกทำงานล่วงเวลา หรือทำล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ่างต่อชั่วโมง ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ เว้นแต่นายจ้างจะตกลงจ่ายค่าล่วงเวลา หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด นั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631 – 3667/2552
โจทก์ทั้งสามสิบเจ็ดเป็นพนักงานขับรถยนต์บรรทุกสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ของจำเลย ทำหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกไปส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าของจำเลยทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด โดยได้รับเงินเดือนและค่าเที่ยวอีกส่วนหนึ่ง เมื่อจำเลยกำหนดค่าเที่ยวให้โจทก์ทั้งสามสิบเจ็ดตามระยะทางเป็นสำคัญโดยไม่ได้คำนึงถึงระยะเวลาในการขับรถ แสดงว่าค่าเที่ยวไม่ได้จ่ายเพื่อตอบแทนการขับรถในส่วนที่เกินเวลาทำงานปกติ แต่มีลักษณะเป็นการตอบแทนการเดินทางไปปฏิบัติงานในเวลาทำงานปกติ ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์กับจำเลยตกลงให้จ่ายค่าเที่ยวเป็นการตอบแทนการทำงานเกินเวลาทำงานปกติ เงินค่าเที่ยวจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานตามสัญญาจ้างโดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปกติของวันทำงาน จึงเป็นค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนสำหรับเวลาที่ทำงานเกินเวลาทำงานปกติตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 65 (😎 (กฎหมายที่ใช้บังคับขณะเกิดเหตุ) ประกอบกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ข้อ 6