กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานลูกจ้างลาพักร้อนไปนั่งสมาธิ แต่นายจ้างยังไม่อนุญาต ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เดินกว่า 3 วันทำงานติดต่อกัน

31 August 2022
แม้จะดูขวางทางบุญ แต่ต้องตอบว่า “เลิกจ้างได้” เพราะ…
การลาพักร้อน หรือภาษากฎหมายเรียกว่า การหยุดพักผ่อนประจำปี ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุด ซึ่งตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.30 กำหนดให้ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี
1. หากลูกจ้างลาพักร้อนเพื่อไปนั่งสมาธิ แต่ นายจ้างยังไม่อนุญาต ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เกินกว่า 3 วันงานติดต่อกัน ที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยหรือไม่?
2. แม้จะดูขวางทางบุญ แต่ต้องตอบว่า “เลิกจ้างได้” เพราะถึงแม้กฎหมายจะกำหนดว่าเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่จัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดฯ แต่ระเบียบ ขั้นตอน ตลอดจนผู้มีอำนาจอนุญาตให้ลาหยุด กำหนดไว้อย่างไร ก็ต้องบังคับไปตามนั้น ดังนั้น หากลูกจ้างลาพักร้อนไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือผู้อนุญาตโดยผู้ไม่มีอำนาจ เท่ากับว่า นายจ้างยังไม่อนุญาตให้ลาหยุด ก็จะถือได้ว่าลูกจ้างละทิ้งหน้าที่และหากละทิ้งเกินกว่า 3 วันติดต่อกัน ก็จะเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้
3. คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1521/2557
เรื่อง ลูกจ้างลาพักร้อนไปนั่งสมาธิที่วัดแต่นายจ้างยังไม่อนุญาต การลาของโจทก์จึงไม่ถูกต้อง ตามสัญญาจ้างแรงงาน ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เกินกว่า 3 วันทำงานติดต่อกัน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546ประเภทมหาวิทยาลัย จำเลยจ้างโจทก์เป็นอาจารย์สอนภาควิชาการจัดการ ต่อมาจำเลยเลิกจ้างโจทก์อ้างว่าละทิ้งหน้าที่นานกว่า วันติดต่อกัน จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้รับอนุญาตให้ลาพักร้อนหรือลาพักผ่อนไปนั่งสมาธิที่วัด จึงถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่ 3 วันติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร ศาลแรงงานภาค 2 พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์ ศาลฎีกาเห็นว่า โจทก์เป็นอาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจ เป็นผู้วางแผนและดำเนินการในหลักสูตรภาคฤดูร้อน จำเลยไม่ได้แต่งตั้งนายโรเบิร์ต เป็นผู้อำนวยการหลักสูตรภาคฤดูร้อน และไม่ปรากฎพฤติการณ์ใดที่แสดงว่าจำเลยได้เชิดนายโรเบิร์ต ให้มีอำนาจกระทำการแทนหรือยอมให้นายโรเบิร์ตเชิดตัวเขาเองเป็นตัวแทนของจำเลย ดังนั้น นายโรเบิร์ต จึงไม่เป็นผู้อำนวยการหลักสูตรภาคฤดูร้อนและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการบริหาร จึงไม่มีอำนาจในการอนุมัติการลา คณบดีคณะบริหารธุรกิจย่อมปฏิเสธการลาของโจทก์ได้ การลาของโจทก์จึงไม่ถูกต้องตามสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อโจทก์หยุดงานวันที่ 16-17 กรกฎาคม 2550 เป็นเวลาเกินกว่า 3 วันทำงานติดต่อกัน ถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทย์ได้