กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงาน“ทำไม่ไหวก็ออกไป” แบบนี้จะถือว่านายจ้างได้ไล่ออกหรือยัง ?

22 August 2022
กับประโยคที่ว่า “ทำไม่ไหวก็ออกไป” หากใครได้ยินก็คงเจ็บจี๊ดไม่ใช่น้อย แบบนี้จะถือว่านายจ้างได้ไล่ออกหรือยัง ?
1. สำหรับเราเห็นว่าประโยคดังกล่าว ยังไม่ถือว่านายจ้าง “ไล่ออก” เพราะนายจ้างมิได้บอกเลิกจ้าง คงเป็นเพียงคำแนะนำจากนายจ้างในทำนองที่ว่าหากทำงานไม่ไหวก็ให้ลาออกไปเท่านั้น
ทนายเอาอะไรมาพรูดดดด ถ้าเจอกับตัวจะทำยังไง… เอ่อ เอาหลักกฎหมายและฎีกามาพูดเนอะเพื่อนเนอะ ใจเย็น สงบสติอารมณ์ และอ่านเทียบเคียงคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1758-1759/2556 นะ เพราะเป็นเรื่อง นายจ้างพูดว่า “ถ้าทำอย่างนี้ไม่ได้ให้ลาออกไป” ลูกจ้างไม่ไปทำงานถือว่าลูกจ้าง ลาออกเองไม่ใช่เลิกจ้าง
การที่นาย บีประธานกรรมการ พูดกับโจทก์ว่า “ถ้าทำอย่างนี้ไม่ได้ให้ลาออกไป” เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2549 คำพูดเช่นนี้ย่อมไม่ใช่การบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ใช่บอกให้ออกจากงานแต่เป็น คำแนะนำโจทก์ว่าถ้าโจทก์ทำไม่ได้ก็ให้ลาออกไป จึงไม่ใช่การข่มขู่เพื่อเลิกจ้างโจทก์ ต่อมาวันที่ 19 มกราคม 2549 โจทก์เข้ามาที่ทำงาน นาย ดีกรรมการผู้จัดการของจำเลยได้สอบถามโจทก์ โจทก์บอกว่าไม่ทำงานแล้ว มีการถ่ายทอดงานให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ ดังนั้นการกระทำของโจทก์ถือได้ว่าเป็นการลาออกจากการ เป็นลูกจ้างของจำเลยโดยปริยาย จำเลยไม่ได้เลิกจ้างโจทก์
3.การที่จะถือว่านายจ้างเลิกจ้างนั้น ต้องเข้าองค์ประกอบ ดังนี้
1)นายจ้างไม่ให้ทำงาน และ
2)นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างให้
แต่ถ้าหากข้อเท็จจริงเปลี่ยนเป็นว่า นายจ้างพูดว่า “ทำไม่ไหวก็ออกไป” แล้วนายจ้างกีดกันไม่ให้ลูกจ้างเข้าทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ ดังนี้ ก็จะถือว่าเลิกจ้าง ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าชดเชยตามกฎหมาย
เอาจริงๆนะเราเอง แม้จะเป็นคนอารมณ์ดีติดตลกอยู่บ่อยครั้ง แต่เราเองไม่ได้เป็นคนอารมณ์เย็นสักเท่าไหร่ ซึ่งหลายครั้งที่มีการใช้คำพูดรุนแรงทำให้เกิดการเสียใจน้อยใจ ทำลายมิตรภาพอันดี ดังนั้นการใช้คำพูดรุนแรงไม่ว่าจะนายจ้างกับลูกจ้าง หรือลูกจ้างกับนายจ้าง ไม่ว่าทั้งต่อหน้าและรับหลัง ก็จงคิดให้ดีใช้สติอย่าให้อารมณ์นำสตินะ เพราะผลเสียมันไม่คุ้มเลยนายจ้างก็อาจจะเสียลูกจ้างดีดีที่จงรักภักดี ลูกจ้างเองก็อาจจะเสียงานเสียแหล่งรายได้แหล่งทำมาหากิน
เตือนเพราะรักทักเพราะห่วงหรอกนะ