กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งนายจ้าง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงาน มีอำนาจสั่ง ให้มีผลบังคับได้เท่าที่เป็นธรรม

26 July 2022
“ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่งนายจ้าง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลแรงงานมีอำนาจสั่งให้มีผลใช้บังคับได้เท่าที่เป็นธรรม”
วันนี้ยาวหน่อย แต่อยากให้อ่าน เพราะหลายคนั้งนายจ้างแพ้ตั้งแต่เริ่ม เพราะคิดว่าอะไรที่นายจ้างสั่ง นายจ้างร่าง ลูกจ้างเซ็น และนายจ้างประกาศถือว่าเป็นอันใช้ได้…ถ้ายังเข้าใจแบบนั้นอยู่ เกียวตัวสู่ขิต แพ้คดีในชั้นศาลได้เลย เพราะ..
การทำสัญญาจ้างแรงงาน คู่สัญญาอาจตกลงสัญญาจ้างอย่างไรก็ได้ ขึ้นอยู่กับความสมัครใจของนายจ้างและลูกจ้างเป็นสำคัญก็จริง แต่ข้อตกลงนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่เอาเปรียบลูกจ้างเกินสมควร
และกรณีหากนายจ้างกำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ คำสั่ง ที่นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร แบบนี้ลูกจ้างจะมีสิทธิทำอย่างไรได้บ้าง เชิญอ่าน…
1. ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน หากศาลเห็นว่า สัญญาจ้าง ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้น นายจ้างได้เปรียบลูกจ้างเกินสมควร ศาลมีอำนาจสั่งให้สัญญาจ้างข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบ หรือคำสั่งนั้นมีผลใช้ปังคับเพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน ม.14/1
2.มีคำพิพากษาฎีกาทีน่าสนใจ ดังนี้ ฏ.7810/2560 ข้อตกลงอันเป็นลักษณะข้อห้ามของโจทก์ผู้เป็นนายจ้างก็เพื่อปกป้องข้อมูลความลับและธุรกิจการค้าของโจทก์ให้อยู่รอดตำเนินการต่อไปได้ มุ่งเฉพาะสั่งที่เป็นการแข่งชันในการประกอบธุรกิจการค้าในลักษณะประเภทเดียวกับโจทก์และมีกำหนดระยะเวลา มิใช่ห้ามตลอดไป เป็นข้อตกลงหรือสัญญาที่กระทำได้โดยชอบ แต่จำเลย (ลูกจ้าง) มีตำแหน่งเพียงเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย ได้รับค่าจ้างเตือนละ 13,000 บาท การที่โจทก์กำหนดระยะเวลาห้ามไว้ถึง 2 ปี เป็นข้อกำหนดที่ทำให้จำเลยต้องรับภาระมากกว่าที่พึงคาดหมายได้ตามปกติ จึงให้มีผลบังคับได้เพียง 1 ปี เท่าทีเป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 14/1
รึจะเป็น ฏ.3580/2561 สัญญาจ้างที่จำกัดสิทธิในการประกอบอาชีพของจำเลย(ลูกจ้าง) ที่เป็นการแข่งขันกับโจทก์ (นายจ้าง) เป็นระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่จำเลยซึ่งเป็นเพียงพนักงานธุรการประสานงานขายพ้นสภาพจากการเป็นพนักงานของโจทก์นั้น นับว่าทำให้จำเลยผู้ถูกจำกัดสิทธิหรือเสรีภาพต้องรับภาระมากกว่าที่จะพึ่งคาดหมายใต้ตามปกติ จึงเห็นสมควรให้มีผลบังคับได้เพียง 1 ปี เท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณี
ข้อสังเกต ข้อตกลงจำกัดสิทธิในการประกอบกิจการหรือทำงานอันมีลักษณะแข่งขันกับนายจ้าง ข้อตกลงดังกล่าวนายจ้างสามารถทำได้ แต่ต้องมีลักษณะ
1. ต้องจำกัดในระยะเวลาที่ไม่นานเกินสมควร เช่น 1 – 2 ปี (ฎ.2548-2549/2533)
2. ต้องระบุจำกัดประเภทธุรกิจไว้อย่างชัดเจน หรือ จำกัดพื้นที่ประเทศไว้ชัดเจน (ฎ.1275/2543)
อ่ะ ..ใครอ่านจบยกมือขึ้น 📚😆
และสำหรับใครที่ขี้เกียจอ่านหนังสือ ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล แต่มีคำถามในทางปฏิบัติมากมาย อยากหาทนายเคียงข้างธุรกิจ เป็นเพื่อนคู่คิดหรือเป็นมิตรคู่กาย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสักคน สามารถติดต่อมาได้ที่ info@legalclinic.co.th นะคะ