ก่อนอื่นขอบอกก่อนเลยว่า “ท้อง ไม่ใช่ อาการป่วย”
ดังนั้น การที่พนักงานจะลาไปตรวจครรภ์ตามแพทย์นัดจะไปยังคับให้เค้าใช้ ให้ลาป่วย ลากิจ หรือใช้วันหยุดพักผ่อน “ไม่ได้”
เมื่อพูดถึงวันลาของลูกจ้าง ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ได้กำหนดคุ้มครองลูกจ้างให้มีสิทธิลาได้ตามกฎหมาย แต่ในวันนี้จะมาพูดคุยในประเด็นเรื่อง การลาไปตรวจครรภ์เป็นการ “ลาคลอด” หรือ “ลาป่วย”
สำหรับเรื่องดังกล่าวนี้จะเป็น ลาคลอด หรือ ลาป่วย กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนเลยว่า
1. การลาคลอด ลูกจ้างหญิงมีสิทธิลาคลอดได้ 98 วัน (สิทธิเกิดทันทีที่มีสถานะเป็นลูกจ้างหากตั้งครรภ์ก็มีสิทธิลาคลอด)
2. โดยให้รวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ตามแพทย์นัดเป็นการ “ลาคลอดบุตร” ด้วย
3. ให้นับวันหยุดที่มีระหว่างลาคลอดบุตร นั้นเข้าไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี
ทั้งนี้ ตาม ม.41 ดังนั้นจึงไม่ต้องเถียงกันให้วุ่นวายว่าการไปตรวจครรภ์ตามแพทย์นัด ควรใช้วันลาอะไร
นอกจากนี้ กฎหมายยังได้คุ้มครองลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์ โดยกำหนดให้
4. นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้กับลูกจ้างที่ลาคลอดบุตร ไม่เกิน 45 วัน (ม.59)
5. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ ทำงาน ดังต่อไปนี้ (ม.39)
(1) งานเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ที่มีความสั่นสะเทือน
(2) งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ
(3) งานยก แบก หาม หาบ ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกิน 15 กิโลกรัม
(4) งานที่ทำในเรือ
(5) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
6. ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างหญิงตั้งครรภ์ ทำงานระหว่างเวลา 22.00 – 0600 นาฬิกา หรือทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด (ม.39/1)
7. ห้ามนายจ้างเลิกจ้างหญิงเพราะเหตุมีครรภ์ (ม.43) เฉพาะเหตุตั้งครรภ์เท่านั้น แต่ถ้ามีเหตุอื่นที่สมควรเลิกจ้าง เช่น ลูกจ้างทุจริต แม้จะตั้งครรภ์ก็สามารถเลิกจ้างได้ (ฎ.1959/48)
และสำหรับใครที่ขี้เกียจอ่านหนังสือ ไม่อยากจดจำ ไม่มีเวลาหาข้อมูล แต่มีคำถามในทางปฏิบัติมากมาย อยากหาทนายเคียงข้างธุรกิจ เป็นเพื่อนคู่คิดหรือเป็นมิตรคู่กาย ในการให้คำปรึกษาด้านกฎหมายสักคน สามารถติดต่อมาได้ที่ info@legalclinic.co.th นะคะ