กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานเช็คลิสต์ ” อาชีพและตำแหน่ง ” ที่ไม่มีสิทธิได้ OT

21 July 2022
ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานล่วงเวลาแก่ลูกจ้าง ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ม.61
แต่ก็ใช่ว่าลูกจ้างทุกคนจะมีสิทธิได้ค่าล่วงเวลานะ เพราะกฎหมายเค้ากำหนดว่าลูกจ้างซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่บางประเภทไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา (ม.65) วันนี้คลินิกกฎหมายแรงงานจึงจะพาผู้อ่านไปทราบกันว่าอาชีพและตำแหน่งอะไรที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา มีอะไรบ้าง
(1) ลูกจ้างซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้าง สำหรับกรณีการจ้าง การให้บำเหน็จ หรือการเลิกจ้าง ค่าล่วงเวลา (ลูกจ้างประเภทนี้ จะทำหน้าที่ในการบริหารและควบคุมบังคับบัญชาลูกจ้างอื่น ซึ่งมีลักษณะ เป็นนายจ้าง เมื่อเป็นนายจ้างแล้วก็ไม่ควรที่จะมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุด) อันนี้รายละเอียดเคยเขียนอธิบายไว้โดยละเอียด เดี๋ยวเอาลิ้งมาแปะในคอมเม้นให้
(2) งานเร่ขาย หรือชักชวนชื้อสินค้า ซึ่งนายจ้างได้จ่ายค่านายหน้าจาก การขายสินค้าให้แก่ลูกจ้าง
(3) งานขบวนการจัดงานรถไฟ ซึ่งได้แก่งานที่ทำบนขบวนรถและงาน อำนวยความสะดวกแก่การเดินรถ
(4) งานเปิดปิดประตูน้ำ หรือประตูระบายน้ำ
(5) งานอ่านระดับน้ำและวัดปริมาณน้ำ
(6) งานดับเพลิง หรืองานป้องกันอันตรายสาธารณะ
(7) งานที่มีลักษณะ หรือสภาพต้องออกไปทำงานนอกสถานที่และโดย ลักษณะ หรือสภาพของงานไม่อาจกำหนดเวลาทำงานที่แน่นอนได้
(😎 งานอยู่เวรเฝ้าดูแลสถานที่ หรือทรัพย์สินอันมิใช่หน้าที่การทำงาน ปกติของลูกจ้าง
(9) งานอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (งานเฝ้าดูแลสถานที่หรือทรัพย์สินอันเป็นหน้าที่การทำงานปกติของลูกจ้าง กฎกระทรวง กำหนดงานที่ลูกจ้างไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลาในวันหยุด พ.ศ. 2552)
ทั้งนี้ แม้ผู้ที่ประกอบอาชีพ หรือรับตำแหน่งตามกล่าวมาข้างต้นจะไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แต่ถ้านายจ้างจะตกลงจ่ายค่าล่วงเวลา หรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างนั้นเอง ก็ทำได้ ไม่ผิดกติกาใด ๆ ทั้งนี้ ตาม ม.65 วรรคท้าย….ซึ่งยังไม่เคยเห็นที่ไหนจ่ายเลย 😅