กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานทำงานในลักษณะเดียวกัน ภายใน 2 ปี นับจากลาออก นายจ้างฟ้องได้ แต่…

21 July 2022
เข้าใจความไม่สบายใจของลูกจ้าง ใจนึงก็ต้องการหางานใหม่ อีกใจก็กังวลสัญญาเดิม ทำยังไงดี ใครรู้สึกแบบนี้ วันนี้เรามีคำตอบค่ะ
การที่นายจ้างกำหนดเงื่อนไขในสัญญาจ้างว่า เมื่อพ้นหน้าที่ตามสัญญาไม่ว่าดวยเหตุอะไร ลูกจ้างจะต้องไมาประกอบกิจการ ที่เป็นการแข่งขันกับนายจ้าง หรือไปทำงานให้คู่แข่งของนายจ้าง ในระยะเวลาที่กำหนด หาก ฝ่าฝืนต้องชำระค่าค่าเสียหายให้นายจ้างเป็นเงินตามอัตราที่กจำหนดไว้ “เงื่อนไขดังกล่าวใช้บังคับได้ค่ะ” (อ้างอิงตามคำพิพากษาฎีกาที่ 1275/2543) เพราะไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน “จึงไม่เป็นโมฆะ”
แต่บังคับได้แค่ไหน และลูกจ้างต้องรรับผิดเท่าไหร่ต้องพิจารณา ตามข้อเท็จจริงแต่ละกรณี เช่น คำพิพากษาฎีกาที 2169/2557 ที่วินิจฉัยว่าห้ามมิให้ประกอบกิจการ หรือเข้าร่วมในการประกอบกิจการใดๆเอง ดังนั้น การที่ลูกจ้างเขาไปเป็นเพียงลูกจ้างของบริษัท ช. แม้บริษัทที่เป็นนายจ้างใหม่ จะเป็นบริษัทที่แข่งขันกับธุ
รกิจของโจทก์ก็ตาม ก็ถือ “ไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ประกอบกิจการหรือเข้าร่วมในการประกอบกิจการ อันเป็นการแข่งขันกับธุรกิจของโจทก์ด้วยตนเอง จำเลยจึงไม่ได้ผิดสัญญา”
ส่วนว่าต้องรับผิดกี่บาทนั้น ทั้งกรณีนายจ้างกำหนดไว้สูงปรี๊ดหรือฟ้องมาสูงมาก ฎีกาหลายๆ ฎีกาวางหลักไว้ว่า กรณีจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้นายจ้างเมื่อผิดข้อห้ามทำงานให้คู่แข่ง ถือเป็นค่า เสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้า อันมีลักษณะเป็นค่าปรับ ซึ่งหากสูงเกินไป ศาลปรับลดได้ ซึ่งตรงนี้ศาลพิจารณาจากที่ความเสียหายของนายจ้างด้วย (คำพิพากษาฎีกาที่ 7364/2558)
สรุป จะไปจะมาก็จบกันด้วยดี ฝั่งนึงก็ต้องรักษาความลับได้ได้ล่วงรู่มาจากการทางที่จ้างด้วย ไม่ว่าจะมีสัญญาหรือไม่ก็ตาม ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งตามความเหมาะสมและโอกาสในการเกิดความเสียหาย คุยกันดีดีก่อนเป็นคดีดีที่สุดค่ะ
แต่ถ้ามันเลี่ยงไม่ได้ อย่าคิดอะไรมาก
คิดถึงกันก็พอ และสามารถติดต่อขอทราบค่าบริการได้ที่ info@legalclinic.co.th นะคะ