กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานนายจ้าง” ขอลดค่าจ้าง ” เมื่อไม่ตกลงด้วยจึง ” เลิกจ้าง” แบบนี้ฟ้องได้ 100%

18 July 2022
วันหยุดวันสุดท้าย เตรียมใจสำหรับวันจันทร์รึยัง 😆
แต่ไม่ว่าจะวันไหนเพจเราก็มีสาระความรู้มาฝากทุกวัน
โดยวันนี้คำถามที่นำมาแชร์ เป็นเหตุที่เกิดขึ้นจริงกับแฟนเพจของเราและได้ inbox เข้ามาถาม ก็ขออนุญาตนำมาตอบ เผื่อใครที่เจอสถานการณ์เดียวกันจะได้จัดการและแก้ไขปัญหาได้ถูกค่ะ กับกรณีที่นายจ้างขอลดค่าจ้างลูกจ้าง อาจจะด้วยเหตุผลนายประสบปัญหาขาดทุน ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการ เพื่อให้กิจการดำเนินต่อไปได้ เมื่อนายจ้างมาคุยกับลูกจ้าง แต่ปรากฏว่าลูกจ้างไม่ยินยอมให้ลดค่าจ้าง ก็เลยเลิกจ้างซะเลย
กรณีแบบนี้ ลูกจ้างมีสิทธิอย่างไร จะฟ้องนายจ้างได้หรือไม่ อย่างไร ผายมือให้อ่านเลยค่ะ
1. ประเด็นเรื่องลดค่าจ้าง ลดเงินเดือน อันนี้นายจ้าง “ไม่สามารถทำได้ หากลูกจ้างไม่ตกลงยินยอม” เพราะการลดค่าจ้าง ลดเงินเดือน เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง นายจ้างจะเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยลูกจ้างไม่ยินยอมไม่ได้ เว้นแต่ เป็นการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่เป็นคุณ จึงจะไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
2.ประเด็นเลิกจ้างเพราะเหตุลูกจ้างไม่ยอมลดค่าจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ
👆เงินสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (หากไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมาย)
👆เงินค่าชดเชย ตามอายุการทำงานใครอยากรู้ว่าตนเองได้เท่าไหร่ไปเปิดดูพรบ.คุ้มครองแรงงาน มาตา 118
👆ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนตามส่วนในปีที่เลิกจ้าง
👆ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนสะสม (ถ้ามี)
👆เงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม (อันนี้ต้องไปฟ้อง ศาลแรงงาน)
3. หากลูกจ้างประสงค์จะฟ้องนายจ้าง ก็สามารถฟ้องเรียกให้นายจ้างจ่ายเงินให้ตามข้อ 2. ได้
อย่างที่เคยบอกไปนะคะ แม้ว่าฝ้ายและทีมงานจะเป็นทนายความ มีรายได้จากการว่าความก็ตาม แต่สำหรับคดีแรงงานแล้ว ตัวฝ้ายและทีมงาน ก็อยากให้ทั้งสองฝ่ายหันหน้าเข้าหากัน หากว่านายจ้างมีเหตุผลสมควรและจำเป็นที่ต้องขอลดค่าจ้าง เนื่องจากขาดทุนสะสมมาหลายปี จำเป็นต้องลดค่าจ้าง ลดค่าใช้จ่ายเพื่อกิจการอยู่รอด ก็มาธิบายให้ลูกจ้างฟังด้วยเหตุและผลรวมถึงเอกสารต่างๆให้ลูกจ้างได้รับรู้ไปด้วยกัน ส่วนลูกจ้าง ก็ลองพิจารณาจากเหตุผลและเอกสารหลักฐานที่นายจ้างนำมาชี้แจงหรือนำอธิบายให้ฟังและใช้โอกาสนี้ในการเห็นอกเห็นใจกัน เพราะหากกิจการนายจ้างไปไม่รอดต้องปิดกิจการลง ลูกจ้างก็ต้องตกงาน ขาดรายได้ เดือดร้อนไปอีก
แต่ฝากไว้ให้คิดเป็นข้อสังเกตนะคะ!! กรณีที่ตกลงยินยอมรับเงินเดือน ที่น้อยลง ก็ควรจะมีรายละเอียดให้ชัดเจนว่าลดจำนวนเท่าใด ลดระยะเวลาเท่าใด หากผลประกอบกิจการดีขึ้นก็ควรปรับเพิ่มค่าจ้างให้กับลูกจ้างด้วย ฝากไว้ให้คิดทั้งสองฝ่ายนั่นแหละ
ด้วยรักจึงบอก 💙
สุดท้ายฝากเหมือนเดิม ว่าถ้าคิดอะไรไม่ออกบอกเราได้นะคะ บริษัทของเราไม่ได้ทำแค่กฎหมายแรงงานนะจะ มีตัวฝ้ายทำกฏหมายแรงงานแต่ทนายด้านอื่นๆก็จะมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกัน ดังนั้นใครที่ต้องการทนายความในการรักษาสิทธิ์ของตนเองหรือต้องการที่ปรึกษากฎหมาย สามารถสอบถามค่าบริการได้ที่ info@legalclinic.co.th นะคะ