ก่อนจะตอบคำถามนี้ ขอพามิตรรักแฟนเพจไปทำความรู้จักกับ “เงินค่าชดเชย” ก่อนว่าคืออะไร จะได้เข้าใจถ่องแท้ เพราะหลายหลายครั้งบางคนก็สอบถามเข้ามาว่าตนเองมีสิทธิได้เงินชดเชยไหมทั้งๆที่ยังไม่มีการเลิกจ้าง
เงินค่าชดเชย คือ เงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ลูกจ้าง “เมื่อนายจ้างเลิกจ้าง” ดังนั้นการที่สอบถามเข้ามาว่านายจ้างไม่จัดเวลาพักให้หรือนายจ้างจ่ายค่าจ้างไม่ตรงตามกำหนด ตนเองมีสิทธิได้รับเงินชดเชยไหม?? ตอบได้ว่า”ไม่มีสิทธิได้เงินชดเชย” เพราะยังไม่มีการเลิกจ้าง
แต่สำหรับใครที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดก็มีสิทธิ์ได้รับเงินชดเชยซึ่งในช่วงภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้หลายบริษัทก็ขอผ่อนจ่ายเงินชดเชยจะมีคำถามว่าบริษัททำแบบนั้นได้หรือไม่มาฟังคำตอบให้หายข้องใจกันค่ะ
1. นายจ้างสามารถผ่อนจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างได้หรือไม่นั้น จะ “ได้” หรือ “ไม่ได้” ขึ้นอยู่ที่ว่าลูกจ้าง “ยอม” หรือ “ไม่ยอม” หากลูกจ้างยินยอมนายจ้างก็สามารถทำสัญญาเพื่อขอผ่อนจ่ายค่าชดเชยเป็นรายงวดได้ แต่ถ้าลูกจ้างไม่ยอมก็ผ่อนจ่ายไม่ได้ เพราะเงินค่าชดเชยนั้น กฎหมายกำหนดไว้เลยว่านายจ้างต้องจ่ายทันทีเมื่อเลิกจ้าง
2. ในกรณีที่ลูกจ้างยอมให้ผ่อนชำระ ต่อมานายจ้างผิดสัญญาไม่จ่ายเงินค่าเงินค่าชดเชย ดังนี้ ลูกจ้างก็สามารถนำคดีไปฟ้องต่อศาลแรงงานได้
3. นายจ้างและลูกจ้างทำสัญญาตกลงจ่ายค่าชดเชยให้ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดได้หรือไม่ อันนี้ตอบไวๆเลยว่า “ไม่ได้” เพราะขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ข้อตกลงดังกล่าวเป็น “โมฆะ” ไม่สามารถบังคับได้ ลูกจ้างก็สามารถมาฟ้องเรียกค่าชดเชยในส่วนที่ยังขาดได้
4. หากในสัญญาระบุว่าเมื่อลูกจ้างได้รับเงินตามสัญญาแล้ว “ลูกจ้างขอสละสิทธิ เรียกร้องใดๆ อันอาจมีอีกต่อไปทั้งสิ้น” บังคับได้หรือไม่ อันนี้ “บังคับได้” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากในขณะทำสัญญา ลูกจ้างมีอิสระในการตัดสินใจ (ไม่ได้เป็นลูกจ้างแล้ว) ก็มีสิทธิตกลงว่าจะรับเงินตามสัญญาและสละสิทธิเรียกร้องอื่นใด หรือไม่รับเงินตามสัญญาดังกล่าว แล้วไปฟ้องเรียกเงินตมาสิทธิ ลูกจ้างก็ย่อมทำได้ ดังนั้น เมื่อลูกจ้างตกลงรับเงินตามสัญญาและยอมสละสิทธิเรียกร้อง ข้อตกลงดังกล่าวก็บังคับได้
ข้อสังเกตุ !!!!!!!
ในการที่จะลงชื่อในสัญญาก็ขอให้อ่านให้ละเอียด หากนายจ้างระบุในสัญญาว่าเมื่อลูกจ้างได้รับเงินดังกล่าวแล้วขอสละสิทธิ เรียกร้องใดๆ อันอาจมีอีกต่อไปทั้งสิ้น ซึ่งหากไปโอเค เซย์เจส ลงชื่อกับเขา และ หากเป็นเงินที่ไม่ใช่เงินที่ต้องจ่ายตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานกำหนด เช่น เงินโบนัส ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างจะมาฟ้องเรียกเงินในภายหลังไม่ได้ (ฎ.3753-3756/61)
ส่วนตัวนายจ้างเองจะกำหนดเรื่องเงื่อนไขสละสิทธิ์ไว้ก็ไม่แปลกเพราะเป็นการเจรจาและตกลงร่วมกันที่คู่สัญญามีสิทธิ์พึงจะกระทำได้แต่ก็ขออย่าให้เป็นไปในลักษณะบีบบังคับใจเขาใจเราสำคัญนะคะ
ฝากไว้ให้คิสสส แต่ถ้าคิดอะไรไม่ออก
อยากได้ที่ปรึกษาทางด้านแรงงานและกฎหมายต่างๆ
สามารถติดต่อมาได้ที่
info@legalclinic.co.th ค่ะ