หลายคนคงทราบแล้วว่า ค่าชดเชย กับค่าเสียหายไม่เป็นธรรมเป็นคนละส่วนกัน
โดยค่าชดเชยจะมีการคำนวณตาม อายุการทำงาน ตามมาตรา 118 พรบ.คุ้มครองแรงงาน
แต่ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม “ ไม่ใช่ ”
ดังนั้นประเด็นนี้เป็นเรื่องที่หลายคนอยากรู้ ว่าค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมคำนวณว่าจากอะไร
ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า การเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม หมายถึง การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีสาเหตุ หรือแม้มีสาเหตุอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ใช่สาเหตุที่จำเป็นหรือสมควรจนถึงกับต้องเลิกจ้างลูกจ้างนั้น เช่น ลูกจ้างมาทำงานสายเพียง 10 นาที หรือ ลูกจ้างพูดคุยในระหว่างปฏิบัติงาน แต่งกายไม่เรียบร้อย หรือไม่ยื่นใบลาป่วยภายในเวลาที่กำหนด
จะเห็นได้ว่าการกระทำผิดดังกล่าวเป็นเรื่องเล็กน้อย หากนายจ้างเลิกจ้างด้วยเหตุเหล่านี้ก็อาจป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้
เมื่อถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ลูกจ้างก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ม.49 เมื่อคดีขึ้นสู่ศาลหากศาลเห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรม
ศาลอาจสั่งให้
1.นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน
2.นายจ้างจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม (กรณีไม่สามารถทำงานร่วมกันได้)
ซึ่งการคำนวณค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมนั้น เป็นดุลพินิจของศาลโดยศาลท่านพิจารณาจาก
1.อายุ
2. ระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงาน
3. ความเดือดร้อนเมื่อถูกเลิกจ้าง
4. มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง
5. เงินค่าชดเชย (ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ) ประกอบการพิจารณาว่าลูกจ้างควรจะมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเท่าใด
จากที่อธิบายไปด้านบนจะเห็นว่า ไม่ใช่ว่าฟ้องมาจำนวนเท่าไหร่ได้เท่านั้นนะเพื่อนรัก เพราะหากเรียกค่าเสียหายมาสูงเกินควร ศาลท่านก็อาจจะกำหนดลดค่าเสียหายได้ ทั้งนี้ ก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น
ส่วนใครประสงค์ใช้สิทธิฟ้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงและอยากมีทนายใจดี หน้าตาเป็นมิตร (ในบางที)
สามารถจ้างได้ติดต่อ info@legalclinic.co.th นะคะ