“นายจ้างบอกว่าไม่มีสัญญา ไม่เคยส่งประกันสังคมให้ ฟ้องไปก็ไม่ชนะหรอก” จริงหรือเปล่าพี่ทนาย??
.
.
แหม่…ขู่แบบนี้มาลองดูกันหน่อยมั้ยละ
สัญญาจ้างแรงงานนั้นเพียงตกลงด้วยวาจาก็บังคับได้
โดยมีคำพิพากษาศาลฎีกาสนับสนุนไว้คือ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2652-2653/2529 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 575 ไม่ได้บัญญัติว่าสัญญาจ้างแรงงานต้องทำเป็นหนังสือ เพียงแต่ตกลงจ้างและตกลงให้สินจ้างแก่กัน สัญญาจ้างแรงงานก็เกิดแล้ว
ดังนั้น เมื่อลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ลูกจ้างก็มีสามารถฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ ม.49 โดยการพิจารณาว่าการเลิกจ้างเป็นธรรมหรือไม่นั้น ศาลจะพิจารณาถึงเหตุของการเลิกจ้าง หากศาลเห็นว่าการเลิกจ้างนั้นไม่เป็นธรรม ศาลอาจสั่งให้
1.นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงาน
2.นายจ้างจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม (กรณีไม่สามารถทำงานร่วมกันได้)
ซึ่งการคำนวณค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมนั้น เป็นดุลพินิจของศาลโดยศาลจะพิจารณาจาก อายุ ระยะเวลาที่ลูกจ้างทำงาน ความเดือดร้อนเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเงินค่าชดเชย (ที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ) ประกอบการพิจารณาว่าลูกจ้างควรจะมีสิทธิได้รับค่าเสียหายเท่าใด
อย่างไรก็ดี แม้กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ทำสัญญาจ้างแรงงานเป็นหนังสือก็ตาม แต่นายจ้างและลูกจ้างควรทำสัญญาจ้างกันเป็นหนังสือ เพราะในสัญญาจ้างจะระบุเงื่อนไขการจ้าง ระยะเวลาการทำงาน ค่าจ้างและผลประโยชน์ตอบแทนอื่นๆ ไว้ชัดเจน โดยมีการลงลายมือชื่อคู่สัญญาไว้ด้วย ซึ่งจะเป็นการดีต่อทั้งนายจ้างและลูกจ้าง เพราะนอกจากจะเป็นการง่ายต่อการพิสูจน์เมื่อมีข้อพิพาทแล้ว ยังทำให้คู่สัญญาต่างรู้และเข้าใจถึงสิทธิหน้าที่ที่พึงมีต่อกัน
สุดท้ายนี้ฝากนิดนึง ….เลิกขู่ซะที การที่บริษัทไปไม่ไหว หรือไม่สามาราถปฏิบัติตามกฎหมายได้ ก็เรียกมาคุยกันตรงๆถ้อยทีถ้อยอาศัย ให้เห็นใจกัน ยังดีกว่าการขู่แบบนั้นนะคะ สมัยนี้ทุกคนเข้าถึงความรู้ได้ง่ายๆ ดังนั้น อย่าขู่ให้ตัวเองต้องอาย หรืออย่าท้าทายให้มีการใช้สิทธิเลยค่ะ
ด้วยความห่วงใย…จากทนายคนน่ารัก 💙
สนใจติดต่อบรรยาย ว่าความ ที่ปรึกษากฎหมาย
งานบริการทางกฎหมาย
info@legalclinic.co.th