กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฎหมายครอบครัว7 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการลาออก

3 July 2022
7 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการลาออก
พอเมื่อวานเข้าหัวข้อการลาออก inbox เกี่ยวกับการลาออกก็ถามมาอีกหลายท่าน หลายข้อสงสัย ดังนั้นวันนี้ อีกสักโพสต์แล้วกันต้อนรับวันอังคารแสนสดใส.. (ใครสดใสอ่ะ ไม่ใช่ทนายฝ้ายแล้วหนึ่ง ตอนนี้ง่วงมาก ใครอยู่ศาลแรงชลบุรีมาชวนไปกินกาแฟได้ ทนายฝ้ายพร้อมมาก)
อ่ะเข้าเรื่อง 7 เรื่องต้องรู้เกี่ยวกับการลาออก จำไม่หมดก็จด ขี้เกียจจดก็กดแชร์นะคะ
1.การลาออกเป็นการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจ้างโดยลูกจ้าง ไม่ว่าด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรขอบอกเลิกสัญญาจ้างแรงงานกับนายจ้าง มีผลทำให้สัญญาจ้างแรงงานเป็นอันสิ้นสุดลง (คำพิพากษาฎีกาที่6048-6051/2546)
2.เมื่อแสดงเจตนาลาออกแล้ว จะถอนไม่ได้ ยกเว้นนายจ้างยินยอม การลาออกถือเป็นการแสดงเจตนาฝ่ายเดียวมีผลเมื่ออีกฝ่ายคือนายจ้างและรับทราบการแสดงเจตนานั้นเมื่อแสดงเจตนาลาออกและนายจ้างได้รับทราบเจตนาดังกล่าวแล้วลูกจ้างจะถอนการแสดงเจตนาโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งไม่ยินยอมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 386 (คำพิพากษาฎีกาที่ 1900/2542)
3.ก่อนการลาออกมีผล ลูกจ้างยังมีสถานะเป็นลูกจ้าง หากทำผิดนายจ้างเลิกจ้างได้ เมื่อลูกจ้างยื่นใบลาออกนายจ้างอนุมัติการลาออกแล้ว แต่ในระหว่างที่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาพ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างตามที่กำหนดไว้ในใบลาออก หากลูกจ้างกระทำผิดฝ่าฝืนคำสั่งระเบียบข้อบังคับการทำงานของนายจ้าง นายจ้างมีสิทธิ์ลงโทษทางวินัยและเลิกจ้างได้(คำพิพากษาฎีกาที่ 1919/2546)
4. นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนครบกำหนดในใบลาออกไม่ใช่การเลิกจ้าง ศาลฎีกาเคยตัดสินว่าสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเพราะการลาออกไม่ถือว่าเป็นการเลิกจ้าง ทั้งนี้เพราะลูกจ้างเป็นฝ่ายแสดงเจตนาขอบอกเลิกสัญญาจ้างก่อน แม้นายจ้างไม่ได้แสดงเจตนาอะไรสัญญาจ้างย่อมสิ้นสุดลงเมื่อถึงวันที่ระบุให้ใบลาออกมีผล แม้นายจ้างจะให้ลูกจ้างออกจากงานก่อนถึงวันดังกล่าวตามที่ลูกจ้างประสงค์โดยลูกจ้างไม่มีความผิดก็มีผลทำให้ลูกจ้างเสียหายเพียงเท่าที่ไม่รับค่าจ้างจนถึงวันที่ลูกจ้างประสงค์จะออกเท่านั้น จึงมิใช่การเลิกจ้าง(คำพิพากษาฎีกาที่ 10161/2551)
5. นายจ้างให้ลูกจ้างเขียนใบลาออกไว้ล่วงหน้าไม่มีผลใช้บังคับ การที่นายจ้างให้ลูกจ้างลงชื่อในใบลาออกที่ไม่กรอกข้อความทำขึ้นเพื่อให้นายจ้างมีสิทธิลูกจ้างออกจากงานได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ซึ่งเป็นสิทธิขั้นต่ำตามกฎหมาย ถือว่าทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลใช้บังคับ
6. การลาออก ไม่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากนายจ้าง แต่หากลูกจ้างลาออกโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือลาออกโดยไม่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของบริษัท ลูกจ้างอาจจะถูกนายจ้างฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ แต่นายจ้างจะต้องพิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าการลาออกของลูกจ้างดังกล่าวนั้น นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างไร (คำพิพากษาฎีกาที่10614/2558)
7. เมื่อลูกจ้างลาออก ลูกจ้างไม่มีสิทธิ์ได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า (ค่าตกใจ)ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยและไม่ได้รับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม เพราะลูกจ้างจะได้รับเงินเหล่านี้ก็ต่อเมื่อถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยที่ไม่มีความผิดเท่านั้น
ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
💬คดีความ
💬ที่ปรึกษากฎหมาย
💬ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
💬งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
💬 VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ที่ : info@legalclinic.co.th