กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานแม้ในสัญญาจ้างเขียนว่าให้โยกย้ายตำแหน่งและสถานที่ทำงานแต่การโยกย้ายก็ต้องมีเงื่อนไขไม่ใช่ย้ายไปได้ทุกที่

3 July 2022

 

แน่นอนว่าถ้าพูดถึงเรื่องของการโยกย้ายในหมวดกฎหมายแรงงาน มันต้องไม่ใช่การส่ายสะโพกโยกย้ายอยู่แล้วแต่มันเป็นการย้ายตำแหน่งงาน รวมถึงย้ายสถานที่ที่ให้ลูกจ้างไปทำงาน

หลายครั้งที่นายจ้างเข้าใจว่าเมื่อระบุไว้ในสัญญาจ้างว่า

“นายจ้างมีสิทธิย้ายลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งหรือสถานที่หรือสาขาใดก็ได” นายจ้างก็จะเข้าใจว่าสามารถทำได้แบบนั้นจริงๆการปลูกสร้างไม่ย้ายไปสาขาอื่นตามที่สั่งรื้อใหม่ย้ายไปตามตำแหน่งงานที่บอกก็มีสิทธิ์เลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ในกรณีดังกล่าว ถึงแม้ว่านายจ้างจะมีอำนาจในการย้ายงานตามสัญญาจ้างหรือตามข้อบังคับฯ เพื่อความเหมาะสม และเพื่อการบริหารงานขององค์กรก็ตาม แต่การย้ายก็ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์สำคัญ ดังนี้

1. ต้องไม่เป็นการลดตำแหน่ง
2. ต้องไม่ลดค่าจ้างของลูกจ้าง
3.ต้องไม่เป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง
4. ต้องชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม กล่าวคือ ต้องไม่กระทบต่อการดำรงชีวิตปกติของลูกจ้างและครอบครัว

หากการย้ายดังกล่าวเป็นการลดตำแหน่ง หรือลดค่าจ้าง หรือย้ายเพื่อกลั่นแกล้งให้ลูกจ้างลาออกเองเพื่อที่จะเลี่ยงไม่จ่ายค่าชดเชย หรือย้ายในลักษณะที่ไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้าง เช่น ต้องรับภาระเสียค่าใช้จ่ายในการเช่าที่พัก ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงานในระยะทางที่ไกลขึ้น ดังนี้ หากลูกจ้างไม่ยอมย้ายไปตามคำสั่งนายจ้างแล้วถูกเลิกจ้าง นายจ้างต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรมได้

ซึ่งมีตัวอย่างที่น่าสนใจ ตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ ๔๖/๒๕๖๓
การที่นายจ้างมีคำสั่งให้ลูกจ้างไปทำงานเป็นวิศวกรประจำโครงการที่ประเทศกัมพูชา โดยลูกจ้างไม่ยินยอม ย่อมเป็นการเพิ่มภาระอย่างมากแก่ลูกจ้างและครอบครัว ยากที่จะปฏิบัติตามคำสั่งได้ จึงไม่ถือเป็นการใช้อำนาจจัดการบริหารงานบุคคลตามความเหมาะสมหรือจำเป็น แม้ลูกจ้างจะได้เลื่อนตำแหน่ง ค่าจ้างและสวัสดิการสูงขึ้นก็ตาม ถือเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นธรรม เมื่อนายจ้างเลิกจ้างด้วยด้วยเหตุไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง จึงต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม
จากตัวอย่างข้างต้นจึงจะเห็นได้แล้วว่าแม้เขียนไว้ในสัญญาว่ามีสิทธิโยกย้ายได้ก็ไม่ใช่ทำได้ทุกอย่างที่อยากทำ แต่การโยกย้ายไม่ว่าจะเป็นสถานที่ทำงานหรือการเปลี่ยนแปลงอื่นใดก็ต้องเป็นในทางที่เป็นธรรมกับลูกจ้างด้วยไม่ใช่คิดว่าลูกจ้างเซ็นไปแล้วบังคับใช้ได้ทุกอย่างนะ เพราะมันเป็นสัญญาสำเร็จรูปที่แทบจะทุกบริษัทกำหนดไว้ตายตัว แต่ตอนนั้นหนูไม่ยอมหนูก็คงไม่ได้งาน นำซ้ำการตกลงใดใดก็ตามที่ขัดกับความสงบเรียบร้อยและขัดกับข้อกฎหมายแม้ลูกจ้างเซ็นก็บังคับใช้ไม่ได้

ดังนั้นนายจ้างโปรดจงเข้าใจให้ถูกต้อง ก่อนดำเนินการ และที่สำคัญเข้าใจให้ถูกต้องก็เป็นเรื่องสำคัญเข่นกันนะคะ

ติดต่องานขอทราบค่าบริการ
💬คดีความ
💬ที่ปรึกษากฎหมาย
💬ร่างข้อบังคับและสัญญาทั้ง Thai/Eng
💬งานบรรยายกฎหมายแรงงาน PDPA
💬 VISA & WORKPERMIT
สอบถามค่าบริการได้ที่ : info@legalclinic.co.th