กรุณารอสักครู่

 

บทความแนะนำ

ลีกัล คลินิก แอนด์ เอดดูเคชั่น

กฏหมายแรงงานเลิกจ้างเพราะทำงานไม่ได้ตามมาตรฐานที่นายจ้างกำหนด นายจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชย

30 December 2021

นายจ้างหลายคนอ่านมาถึงตรงนี้ ร้องเฮ้ยกันเลยทีเดียว ทั้งแปลกใจ สงสัย และรู้สึกว่าไม่เป็นธรรม นั่นก็เพราะว่า การที่นายจ้างกำหนดมาตรฐานการทำงานต่างๆไว้ก็เพื่อกำกับ ดูแล การทำงานของลูกจ้างให้เป็นไปในกรอบ เพื่อทำให้งานมีคุณภาพตามที่นายจ้างกำหนด แต่เมื่อลูกจ้างทำไม่ได้ จนเป็นเหตุให้เลิกจ้าง นายจ้างทำไมยังต้องจ่ายค่าชดเชยอีก
หลายครั้งที่นายจ้างออกหนังสือเตือน เพื่อให้ลูกจ้างปรับปรุงมาตรฐานการทำงาน และเมื่อลูกจ้างปรับปรุงไม่ได้ตามมาตรฐานการทำงาน ก็ออกหนังสือเลิกจ้าง และเข้าใจว่า การเลิกจ้าดังกล่าว บริษัทไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เพราะได้ดำเนินการตามมาตรา 119 ข้อ 4 ที่บอกว่า “…ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว…”

นายจ้างท่านใดที่เข้าใจแบบนี้อยู่ อาจมีความเสี่ยงสูงที่ต้องจ่ายทั้งค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม นั่นเพราะว่า

1. ความหมายของ(4) ในมาตรา 119 ต้องเป็นความผิดทางวินัย

เลิกจ้างเพราะทำงานไม่ได้ตามมาตรฐานที่นายจ้างกำหนด หรือหย่อนสมรรถภาพในการทำงาน ไม่ใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้าง ไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา119(4) นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย (คำพิพากษาฎีกาที่ 2725/2525)

แล้วนายจ้างจะทำอย่างไรได้บ้าง หากลูกจ้างไม่สามารถปรับปรุงมาตรฐานการทำงานให้ดีขึ้น??

ในส่วนนี้ ขอเสนอแนะว่าบริษัทควรจะต้องมีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ชัดเจน มีหลักฐานที่อ้างอิงได้ว่าพนักงานที่ทำงานไม่ดี มีปัญหานั้น ทำงานไม่ดีอย่างไร มีปัญหามากน้อยแค่ไหนกับบริษัท จนถึงขั้นจะต้องเลิกจ้าง และที่สำคัญหากลูกจ้างไม่สามารถแก้ไขได้ และถึงขั้นที่จะต้องเลิกจ้าง นายจ้างจะต้องมีผลการประเมินการปฏิบัติงานของลูกจ้างย้อนหลังกลับไปหลายๆปี รวมถึงพฤติกรรมปีที่ผ่านมาของลูกจ้าง ไม่ใช่เพียงแต่ผลการประเมินปีล่าสุดมาประเมินและตัดสิน โปรดดูโพสนี้ประกอบ……………….

สุดท้ายนี้อยากฝากว่าในการจะใช้เหตุอะไรเลิกจ้าง ต้องพิจารณาถึงความสมเหตุสมผล ใจเขาใจเรา และความเป็นธรรมมาประกอบการพิจารณาเลิกจ้าง เพื่อให้การเลิกจ้างเป็นไปย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

————-

ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th

#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#คลินิก​กฎหมาย​แรงงาน
#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน