แถให้สุดแล้วหยุดสักทีเถอะ กับกรณีที่ บริษัทเลิกจ้างพนักงาน โดยไม่มีความผิด แต่ไม่จ่ายค่าชดเชย เมื่อลูกจ้างใช้สิทธิฟ้องคดี กลับอ้างว่า “ ผู้จัดการฝ่าย HR เป็นผู้ไล่ออกเอง กรรมการผู้จัดการไม่เกี่ยว ไม่ได้เลิกจ้างสักหน่อย ลูกจ้างก็ใจร้อนเอง ได้หนังสือจากคนอื่นที่ไม่ใช่กรรมการ จะถือว่าไล่ออกได้ไง แถมยังขาดงานหลังจากนั้นอีก บริษัทเลยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย”
เอาจริงๆการอ้างนี้ไม่ใช่อ้างไม่ได้เสียทีเดียว เพราะเราเคยเจอกรณีที่คนไล่ออกไม่มีอำนาจจริงๆ เป็นเพื่อนร่วมงานที่อาวุโสกว่า ตำหนิและไล่ออก ลูกจ้างดันหายไปจริงๆ เรียกกลับมาก็ไม่มา กรณีแบบนั้นจึงอาจถือว่าลูกจ้างขาดงานติดต่อกันสามวันและเป็นเหตุแห่งการเลิกจ้างโดยไม่ต้องจ่ายยค่าชดเชย
แต่กับกรณีที่ถามมานั้น อาจแตกต่างเพราะเมื่อสอบถามว่า สัญญาจ้าง ใครลงนาม คำตอบก็คือผู้จัดการฝ่าย HR ใครออกหนังสือเตือนต่างๆ ก็คำตอบเดิม ผู้จัดการฝ่าย HR ดังนั้น ในกรณีที่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้จัดการฝ่าย HR เป็นผู้รับโจทก์เข้าทำงานในบริษัท, เป็นผู้ทำสัญญาจ้างแทนกรรมการ กรณีที่พนักงานบกพร่องต่อหน้าที่ ผู้จัดการฝ่าย HR ก็เป็นผู้เรียกพนักงานไปเตือนเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่า บริษัทได้เชิด ผู้จัดการฝ่าย HR ออกแสดงเป็นตัวแทนของบริษัทหรือรู้แล้วยอมให้ผู้จัดการฝ่าย HR เชิดตัวเขาเองออกแสดงเป็นตัวแทนของบริษัทในการจ้างหรือเลิกจ้างพนักงานได้
ดังนั้นการที่ผู้จัดการฝ่าย HR บอกเลิกจ้างโจทก์จึงมีผลผูกพันจำเลยเสมือนว่าผู้จัดการฝ่าย HR เป็นตัวแทนของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821
อ้างอิง คำพิพากษาฎีกาที่ 968/2539
————-
ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#คลินิกกฎหมายแรงงาน
#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน