ถ้าหากมีธุระก็ต้องลากิจ แต่ถ้าหากธุระของเรายาวนานหลายวันก็ต้องลากิจหลายวัน และวันลากิจของเราก็มีจำกัดอีก ถ้าหากลาเกินกำหนดนายจะจ้างหักเงินเดือนได้ไหมนะ?
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 57/1 ซึ่งกำหนดไว้ว่า “ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นตามมาตรา 34 เท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลาแต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามวันทำงาน”
ดังนั้นหากพิจารณาตามข้อกฎหมายจะเห็นได้ว่า ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ลูกจ้างลากิจ ปีหนึ่งไม่เกินสามวันทำงานโดยหากลูกจ้างลาเกินสามวันทำงาน นายจ้างก็มีสิทธิที่จะไม่จ่ายเงินค่าจ้างในวันที่ลูกจ้างลากิจได้
ยกตัวอย่างเช่น ลูกจ้างเงินเดือน 15,000 บาท ในระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกำหนดว่า ลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ 6 วันต่อปีและมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันที่ลาตามที่กฎหมายกำหนด เช่นนี้แล้วหากในปี 2563 ลูกจ้างได้ใช้สิทธิลากิจไป 3 วันแล้ว แต่เนื่องจากในเดือนธันวาคม 2563 บัตรประชาชนของลูกจ้างหมดอายุทำให้ลูกจ้างต้องลากิจเพิ่มอีก 1 วัน รวมแล้วในปี 2563 ลูกจ้างลากิจไปทั้งหมด4 วัน เมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างเดือนธันวาคม นายจ้างมีสิทธิไม่จ่ายค่าจ้างในวันที่ลูกจ้างลากิจในวันที่ 4 ของปีได้ ในกรณีนี้ นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างของงวดเดือนธันวาคมให้แก่ลูกจ้าง เป็นจำนวนเงิน 14,500 บาท
อย่างไรก็ตาม หากระเบียบข้อบังคับของนายจ้างระบุไว้ในลักษณะที่ว่าลูกจ้างสามารถลากิจได้โดยนายจ้างจะไม่หักค่าจ้าง เช่นนี้แล้วนายจ้างจะหักค่าจ้างของลูกจ้างที่ลากิจเกิน 3 วันต่อปีไม่ได้ เนื่องจากได้ตกลงไว้ตั้งแต่แรกแล้วว่าจะไม่มีการหักค่าจ้างในวันลากิจนั่นเอง ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวเป็นคุณกับลูกจ้างมากกว่าที่กฎหมายกำหนด
————-
ติดต่องานจ้าง
สอบถามค่าบริการได้ทาง
Info@legalclinic.co.th
#ทนายแรงงาน #ทนายคดีแรงงาน
#PDPA #พรบคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
#คลินิกกฎหมายแรงงาน
#ทนายฝ้ายคลินิกกฎหมายแรงงาน